เครื่องเลื่อยสายพานแนวนอน |
เป็นเครื่องเลื่อยที่มีใบเลื่อยยาวติดกันเป็นวงกลม การเคลื่อนที่ของใบเลื่อย มีลักษณะของการส่งกำลังด้วยสายพาน คือมีล้อขับและล้อตาม ทำให้คมตัดของใบเลื่อยสามารถเลื่อยตัดงานได้ต่อเนื่องตลอดทั้งใบ การป้อนตัดงานใช้ระบบไฮดรอลิกส์ควบคุมความตึงของใบเลื่อย ปรับด้วยมือหมุน หรือใช้ไฮดรอลิก ( hydraulic ) ปรับระยะห่างของล้อ มีโครงสร้างแข็งแรง ตัวเครื่องสามารถยึดติดตั้งได้กับพื้นโรงงาน
เครื่องเลื่อยสายพานแนวตั้ง |
เครื่องเลื่อยสายพานแนวตั้ง เป็นเครื่องเลื่อยที่มีใบเลื่อยเป็นแบบสายพานในแนวตั้ง ซึ่งจะหมุนตัดชิ้นงานได้อย่างต่อเนื่อง ใช้ตัดงานเบาได้ทุกลักษณะ เช่น ตัดเหล็กแบน หรือเหล็กบางให้ขาด หรือตัดเป็นรูปทรงต่าง ๆ ซึ่งเครื่องเลื่อยชนิดอื่น ๆ ไม่สามารถทำได้
เครื่องเลื่อยสายพานแตกต่างจากเครื่องเลื่อยชัก ที่สามารถตัดชิ้นงานเป็นแบบต่อเนื่อง ในขณะที่เครื่องเลื่อยชักทำหน้าที่ตัดงานเฉพาะช่วงชักตัดเท่านั้น และยังใช้ประโยชน์ของใบเลื่อยในช่วงจำกัดอีกด้วย คือ จะใช้ประโยชน์เฉพาะส่วนกลางของใบเลื่อยเท่านั้น ใบเลื่อยสายพานจะมีความหนาน้อยกว่าใบเลื่อยชนิดอื่น ๆ จึงทำให้มีการสูญเสียวัสดุน้อยกว่า
เครื่องเลื่อยวงเดือน |
เครื่องเลื่อยวงเดือน เป็นเครื่องเลื่อยที่ใบเลื่อยเป็นวงกลม มีฟันรอบ ๆ วง สามารถตัดชิ้นงานได้อย่างต่อเนื่อง มักเป็นชิ้นงานบาง ๆ เช่น อะลูมิเนียม สามารถตัดงานได้ทั้งลักษณะตรงและเอียงเป็นมุม
ความปลอดภัยในการใช้เลื่อยวงเดือน
- เลื่อยวงเดือนเกิดอันตรายได้ง่ายมาก ให้ใส่ฝาครอบใบเลื่อยเสมอ
- อย่าใจร้อน ออกแรงควบคุมตัดเกินพิกัด
- ให้ระวังก่อนชิ้นงานขาด ใช้แรงควบคุมตัดเพียงเล็กน้อย เพราะขาดง่าย
- ให้หมั่นตรวจการแต่กร้าวของใบเลื่อย หรือการยึดติดคมเลื่อย
การหล่อเย็นชิ้นงานขณะตัดเฉือนโลหะ
งานตัดกลึงโลหะมักใช้ใบมีดในการเจาะ เซาะ เฉือนเนื้อโลหะ หรือใช้หินขัดในการเจียร์เพื่อให้ชิ้นงานนั้นได้รูปร่างหรือขนาดตามที่ต้องการ ในขณะที่การเจาะเซาะหรือเฉือนหรือเจียร์นั้น ความร้อนจะเกิดขึ้นสูงมาก โดยอาจสูงถึง 7,000 C หรือสูงกว่า ซึ่งความร้อนี้เกิดจากการเสียดสี ระหว่างใบมีดกับชิ้นงานและจากการเปลี่ยนรูปของเนื้อโลหะ (Deformation) หากความร้อนที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้รับการระบายออกโดยเร็วก็จะเกิดการสะสมทำให้ใบมีดและชิ้นงานร้อนจัดใบมีดจะสูญเสียความแข็ง และสึกหรอได้ ในที่สุดส่วนชิ้นงานอาจบิดเบี้ยวทำให้ไม่ได้รูปร่างหรือขนาดตามที่ต้องการและอาจเกิดการหลอมติดของเศษโลหะที่บริเวณปลายใบมีด ซึ่งเรียกว่าเกิด Built Up Edge หรือเรียกโดยย่อว่า BUE ทำให้ใบมีดสึกเร็วและอาจถึงขั้นแตกหักได้
Tags:
No comments:
Post a Comment