เครื่องเจาะแบบรัศมี |
1. ฐานเครื่อง (Base) เป็นส่วนที่ติดตั้งอยู่กับพื้นโรงงาน ทำด้วยเหล็กหล่อ เป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักทั้งหมดของเครื่อง
2. เสาเครื่อง (Columm) มีลักษณะเป็นเสากลมใหญ่กว่าเสาเครื่องเจาะธรรมดา จะยึดติดอยู่กับฐานเครื่อง จะเป็นที่เคลื่อนขึ้นลงและจับยึดของแขนรัศมี
3. แขนรัศมี (Radial Arm) สามารถเลื่อนขึ้นลงได้บนเสาเครื่อง และสามารถหมุนรอบเสาเครื่องได้เพื่อหาตำแหน่งเจาะงาน เป็นส่วนที่รองรับชุดหัวเครื่อง
4. ชุดหัวเครื่อง (Drilling Head) อยู่บนรัศมี สามารถเลื่อนเข้าออกได้ตามความยาวของแขนรัศมี เพื่อหาตำแหน่งเจาะรู
5. แกนเพลา (Spindle) เป็นรูปทรงกระบอก ภายในเป็นรูเรียวสำหรับจับยึดก้านเรียวของหัวจับดอกสว่าน หรือจับก้านเรียวของดอกสว่านที่มีขนาดใหญ่
6. โต๊ะงาน (Table) เป็นอุปกรณ์ที่ยึดติดอยู่บนฐานเครื่อง จะมีร่องตัว-ที เพื่อใช้จับยึดชิ้นงานโดยตรง หรือใช้สำหรับจับยึดปากกาจับงาน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ
7. มอเตอร์ (Motor) เป็นต้นกำลังที่ส่งกำลังไปหมุนแกนเพลาเพื่อหมุนดอกสว่านเจาะงานหรือส่งกำลังเพื่อขับเคลื่อนส่วนต่าง ๆ อัตโนมัติ เนื่องจากชิ้นส่วนแต่ละส่วนมีขนาดใหญ่
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเจาะ
ดอกสว่าน (Drills)
รูปร่างลักษณะ และชื่อเรียก สว่านลักษณะนี้จะมีคมอยู่ 2 คม มีร่องคายเศษอยู่ 2 ร่อง คมตัดจะขึ้นเป็นขอบเส้น มีแนวหลบหลังคมไปตามลำตัว คมจะเกิดขึ้นรอบ ๆ ลำตัวสว่านเป็นแนวเอียงมุมเหมือนกับเกลียวฟันไปรอบ ซึ่โดยทั่ว ๆ ไปจะใช้งานกันอยู่ 2 ประเภท คือ แบบก้านจับตรงและก้านจับเรียว
ก้านจับของดอกสว่านนี้จะทำหน้าที่จับยึดเข้ากับอุปกรณ์การจับของเครื่องเจาะ เช่น พวกหัวจับ (Drill Chuck) สำหรับสว่านก้านตรง และปลอกจับเรียว (Taper Sleeve) สำหรับสว่านก้านเรียว
คมตัดของสว่าน
ชนิดคมตัดของสว่าน เกิดขึ้นจากการกัดร่องคายเศษเจาะ คมตัดนี้จะมี 2 ช่วง คือ ด้านหน้าของสว่าน และคมตัดรอบ ๆ ลำตัวในลักษณะของเกลียวหรือเป็นคมตัดตรง ซึ่งคมตัดของสว่านนี้จะแบ่งชนิดของคมออกได้เป็น 2 ชนิด คือ คมตัดตรงและคมตัดเลื้อย กรณีของคมตัดเลื้อยส่วนใหญ่ทั่ว ๆ ไปของการใช้งานจะมีคมรอบลำตัวอยู่ 2 คม หมายถึง มีร่องคายเศษอยู่ 2 ร่องนั่นเอง จะมีสว่านกรณีพิเศษที่มีร่องคายเศษ 3 ร่องหรือ 4 ร่องขึ้นไป สำหรับเจาะงานเฉพาะซึ่งจะให้คุณสมบัติที่ดี คือ ยิ่งคมตัดมากความเที่ยงตรงในการเจาะจะสูง และผิวรูเจาะจะเรียบ แต่ก็มีข้อเสียคือ ความแข็งแรงของคมตัดด้านหน้าจะน้อยลง
ส่วนระหว่างลำตัวสว่าน (BODY) กับก้านจับสว่าน (SHANK) ของสว่าน บางบริษัทจะตกร่องไว้ เรียส่วนนี้ว่า คอสว่าน (NECK)
เส้นแกน (WEB) ของสว่านนั้นเกิดจากการกัดร่องคายเศษเจาะ และการขึ้นคมตัดของสว่าน ร่องคายเศษจะเป็นตัวทำให้เกิดเส้นแกน (WEB) ขึ้น มีลักษณะเป็นแนวเรียว ด้านคมตัดจะมีความหนาน้อยกว่าด้านโคนของส่วน เส้นแกนนี้จะเป็นร่องบิดไปรอง ๆ ลำตัวสว่าน และความหนาของเส้นแกนจะค่อย ๆ เรียวเล็กลงไปจากโคนหาปลายคมตัด
Tags:
No comments:
Post a Comment