Tuesday 1 March 2011

การเชื่อมโลหะ

การเชื่อมโลหะด้วยลวดธูป (MMA) กับการเชื่อมโลหะด้วยลวดม้วน (MIG) อะไรจะดีกว่ากัน
ในหลายๆประเทศทั่วโลก “นิยมใช้การเชื่อมโลหะด้วยลวดม้วน มากกว่าการเชื่อมด้วยลวดธูป” กันมากมาย อะไรคือเหตุผล
การเชื่อมโลหะ

การเชื่อมโลหะด้วยลวดเชื่อมธูป ชื่อจริงๆ เราเรียกว่า “การเชื่อมอาร์คด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลั๊กซ์ ”
ซึ่งมีอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นอยู่ไม่กี่อย่าง ได้แก่ ตู้เชื่อมแบบธรรมดาทั่วๆไป ซึ่งมีทั้งแบบ AC และ DC, สายเชื่อมพร้อมหัวเชื่อม. สายดิน และลวดเชื่อมหุ้มฟลั๊กซ์

การเชื่อมโลหะด้วยลวดม้วน มีชื่อเรียกจริงๆว่า “ การเชื่อมอาร์คใช้ก๊าซปกคลุม ”
ซึ่งมีอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นอยู่หลายอย่าง ได้แก่ ตู้เชื่อมระบบพิเศษ, ชุดขับป้อนลวด, สายเชื่อมพร้อมหัวเชื่อม, สายดิน, ถังบรรจุแก๊ปกคลุม,เกจ์ปรับความดันและอัตราการไหลของแก๊สปกคลุม และลวดเชื่อมที่เป็นม้วน)



การที่จะตัดสินใจว่า การเชื่อมทั้งสองชนิดนี้ อย่างไหนจะดีกว่ากัน
1.ความเร็วและความต่อเนื่องในการเชื่อม :
1.1ความต่อเนื่องในการเชื่อม : การเชื่อมด้วยลวดม้วน (มิก) จะมีการหลอมละลายของลวดเชื่อมที่ป้อนออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยที่ลวดเชื่อมที่ขดอยู่ในม้วนจะถูกส่งออกมาตลอดเวลาที่มีการกดสวิทช์เชื่อม นั่นก็หมายความว่า ความต่อเนื่องของการเชื่อมด้วยลวดม้วน จะดีกว่าการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมธูป ท่านคงทราบดีว่า การเชื่อมด้วยลวดเชื่อมธูปนั้น เนื่องจากความยาวของลวดเชื่อมมีจำกัด ท่านจึงจำเป็นต้องมีการหยุดเชื่อมชั่วคราวเพื่อทำการเปลี่ยนลวดเชื่อม ในขณะที่การเชื่อมด้วยลวดม้วน ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงจุดนี้ นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ มีการนำการเชื่อมด้วยลวดม้วนไปใช้กับหุ่นยนต์เชื่อม

1.2เวลาในการทำความสะอาดรอยเชื่อม : อย่างที่ท่านทราบกันดีอยู่แล้วว่า รอยเชื่อมที่ได้จากการใช้ลวดธูป จะมีสแล็กปกคลุมอยู่เป็นปริมาณพอสมควร ในขณะที่ การเชื่อมด้วยลวดม้วนแทบไม่มี สแล็กปกคลุมอยู่เลย นั่นก็หมายความว่า หลังจากเชื่อมเสร็จแล้ว การเสียเวลาทำความสะอาดรอยเชื่อมในการเชื่อมด้วยลวดม้วนจะน้อยกว่า



2.ทักษะของช่างเชื่อม : หากท่านเคยลองจับหัวเชื่อมดูบ้างแล้ว ท่านคงทราบว่า ในการเชื่อมด้วยลวดธูป ท่านจำเป็นต้องรักษาระยะอาร์คหรือระยะห่างจากปลายลวดถึงชิ้นงาน ให้ได้ระยะที่พอเหมาะเพื่อให้ได้การเชื่อมที่ต่อเนื่องและรอยเชื่อมที่สวยงามปราศจาก สิ่งบกพร่องต่างๆ หากระยะอาร์คสูงมากเกินไป เปลวอาร์คก็จะดับ หรือหากระยะอาร์คสั้นเกินไปจนชิดกับชิ้นงาน ลวดเชื่อมก็จะติดกับชิ้นงาน นั่นก็เป็นความยากของการเชื่อมด้วยลวดธูป ส่วนการเชื่อมด้วยลวดม้วน เราไม่จำเป็นต้องรักษาระยะอาร์คเลย เพราะว่าระบบของเครื่องเชื่อมจะทำหน้าที่นั้นแทนเรา เราเพียงแต่กดสวิทช์ที่หัวเชื่อม การเชื่อมก็จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

3.ค่าใช้จ่ายต่างๆ : แน่นอน ทุกๆท่านคงต้องให้ความสำคัญกับข้อนี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพเศรษฐกิจแบบทุกวันนี้ อันดับแรกเลย ต้องดูราคาเครื่องเชื่อมว่าเหมาะสมกับคุณภาพแค่ไหน เครื่องเชื่อมที่มีราคาถูกกว่า ไม่ได้หมายความว่าจะช่วยให้ท่านประหยัดเงินได้เสมอไป นอกจากนั้นการเชื่อมด้วยลวดม้วน ก็คงจะต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่นหัวทิป, สปริงลายเนอร์, น็อตเซิล, ก๊าซปกคลุม ฯลฯ อ่านถึงจุดนี้แล้ว ท่านอย่าเพิ่งเข้าใจว่า การเชื่อมด้วยลวดม้วนจะทำให้ค่าใช้จ่ายของท่านสูงแบบกระฉูดนะครับ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการใช้ลวดม้วน สามารถควบคุมได้โดยการดูแลรักษาเครื่องเชื่อมและอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึง การใช้งานที่ถูกต้อง และการบริการหลังการขายของผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเชื่อมหรือลวดเชื่อมก็แล้วแต่ ปัจจัยอื่นๆที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมก็ได้แก่ ความจำเป็นในการเคลื่อนย้ายเครื่องเชื่อมและอุปกรณ์ต่างๆ ในข้อนี้ ท่านก็คงทราบดีว่า การเชื่อมด้วยลวดธูปคงจะดีกว่าเป็นแน่, ความสะดวกในการแหล่งบริการของก๊าซปกคลุม อย่างเช่น ในพื้นที่ที่ไม่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขายเลย ก็คงลำบากที่จะนำการเชื่อมด้วยลวดม้วนนี้ไปใช้, บริเวณที่ทำงานเองก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน ถ้าหากบริเวณที่ใช้ทำงานมีลมพัดแรงอยู่ตลอดเวลา หากไม่สามารถใช้อุปกรณ์กำบังลมได้ การเชื่อมด้วยลวดม้วนซึ่งจำเป็นต้องใช้ก๊าซปกคลุม ก็คงไม่สะดวกนัก

No comments:

Post a Comment

แลกลิงค์

Create your own banner at mybannermaker.com!
Copy this code to your website to display this banner!
ต้องการแลกลิงค์ติดต่อ plasmamax@gmail.com