บทความและสาระดีดีทางด้านงานวิศวกรรม เครื่องจักรกล (machine), เครื่องซีเอ็นซี (cnc), เครื่องรีดหลังคา (Roll forming), เครื่องตัดโลหะซีเอ็นซี (CNC Plasma Cutting), ระบบไฮดรอลิค (hydraulic), การเชื่อมโลหะ (Welding), อุปกรณ์ส่งกำลัง เครื่องมือช่างและบทความดีดีเกี่ยวกับงานด้านวิศวกรรม
Pages
▼
Thursday, 13 November 2008
สกัด
สกัด
เป็นเครื่องมือสำหรับตัดหรือเฉือนชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งต้องนำมาใช้ร่วมกันกับค้อน ปกตินิยมใช้สกัดในการตัดเศษโลหะส่วนที่เกินบนผิวโลหะ ใช้ตัดน๊อตหรือสลักเกลียวที่ถอดไม่ออก ตัดรอยเชื่อมส่วนเกิน ตัดแผ่นโลหะและใช้เซาะร่อง สกัดทำมาจากเหล็กกล้าชั้นดี มีความแข็งแรงมากและเหนียวมากกว่าเหล็กทั่วๆไป มีขนาดความยาวประมาณ 4-8 นิ้ว
สกัดสามารถแบ่งได้ตามชนิดของปากได้ 4 แบบดังนี้
1.สกัดปากแบน (Flat) มีลักษณะปากกว้างและโค้งเล็กน้อยหรือแบน ใช้ในการตัดและเฉือนโลหะทั่วไป
2.สกัดปากจิ้งจก (Cape) ลักษณะจะคล้ายกับสกัดปากแบน แต่จะมีปากแคบกว่าและมุมปลายจะโตกว่า
3.สกัดปากมน (Round Nose) ปากจะถูกเฉือนให้อยู่ในลักษณะคล้ายกับวงรี ใช้สำหรับในการเซาะร่องกลมๆ ครึ่งวงกลม หรือมีลักษณะโค้งๆ
4.สกัดปากเฉียง (Diamond Point) ปากจะถูกตัดเฉียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใช้สำหรับลบความคมของขอบภายใน
ปากของสกัดนั้นจะต้องลับให้คมอยู่เสมอ และต้องให้มีมุมที่ถูกต้องด้วย โดยทั่วไปแล้วมุมที่ปากสกัดจะมีต่าประมาณ 60-70 องศา
การใช้งานสกัดในการเฉือนโลหะ
1.ยึดชิ้นงานให้มั่นคงแข็งแรง
2.จับสกัดให้แข็งแรง อย่างให้แน่นจนเกินไป
3.เอียงสกัดด้วยมุมต่างๆ กันให้มีความเหมาะสม โดยเริ่มต้นควรทำมุมกับชิ้นงานให้มาก จากนั้นจึงลดมุมลง แต่อย่าให้น้อยเกินไปเพราะอาจเกิดการไถลได้
4.เวลาใช้ในการตัดให้ดูที่ปากสกัด อย่าดูที่หัวของสกัด
5.ตอกหัวสกัดด้วยค้อน ซึ่งใช้แรงที่เท่ากันโดยจับค้อนตรงบริเวณปลายด้าม
6.ควรเริ่มเฉือนจากขอบชิ้นงานจนเข้ามาบริเวณกลางๆ
ข้อควรระวังในการใช้งานสกัด
1.สกัดที่หัวบานมีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ด ควรจะตกแต่งให้เรียบร้อยก่อนการใช้งาน เพื่อป้อนกันการลื่นไถลเวลาใช้ค้อนตี
2.เช็ดทำความสะอาดสกัดให้เรียบร้อยเวลามีคราบน้ำมันติด เพราะจะทำให้ลื่นในการจับ
3.ระวังเศษโลหะกระเด็นเข้าตา ควรมีการป้องกันให้เรียบร้อย
Tags:
No comments:
Post a Comment