Pages

Sunday, 18 January 2009

มุมคมตัดดอกสว่าน

ภาพมุมคมตัดของดอกสว่านโดยทั่ว ๆ ไปจะประกอบด้วยมุมที่เกี่ยวข้องกับการตัดเฉือน เพื่อจะให้ผลดีต่อการตัดเฉือน คมตัดทำการตัดเฉือนได้ดีจะต้องมี

คมตัดดอกสว่าน
1. มุมคมตัด(Cutting Angle) จะมีลักษณะเหมือนกับลิ่ม ทำหน้าที่ตัดเฉือนเนื้อโลหะ

2. มุมหลบ(Lip Clearance Angle) ทำหน้าที่ลดการเสียดสี และลดแรงต้านบริเวณผิวหน้าของมุมจิกของดอกสว่าน ถ้าไม่มีมุมคายเศษ ดอกสว่านจะไม่สามารถตัดเฉือนผิวงานได้

3. มุมคายเศษ (Rake Angle) ทำหน้าที่ให้เศษตัดเฉือนเคลื่อนที่คายออกจากผิวงานที่ถูกตัด

4. มุมจิก (Point Angle) ในการตัดโลหะทั่วไปจะใช้มุมคมตัดนี้โต118 องศา สำหรับโลหะตัดเฉือนชิ้นงานซึ่งสว่านส่วนใหญ่ทำมาจากเหล็กรอบสูง(High Speed Steel,HSS) มุมจิกมีผลต่อแรงกดเจาะ ถ้ามุมจิกโตมากแรงต้านเจาะก็มากขึ้นตามลำดับ แต่มุมจิกก็ช่วยในการนำศูนย์ในการเจาะงานในขณะเริ่มเจาะด้วย ขนาดของมุมจิกนี้จะขึ้นกับวัสดุงานที่นำมาเจาะ



หัวจับสว่าน (Drill Chuck)
ปลอกจับสว่านก้านเรียว (Sleeve)
ดอกสว่านที่มีขนาดใหญ่ ๆ การจับด้วยหัวจับ (DRILL CHUCK) แบบต่าง ๆ ทำได้ลำบาก ในการแก้ปัญหาให้ทำงานได้สะดวกและยังคงประสิทธิภาพเท่าเดิม โดยการออกแบบก้านสว่านให้มีลักษณะเป็นก้านเรียวใช้ประกอบเข้ากับเพลาเจาะของเครื่องเจาะขนาดเล็ก หรือใช้ประกอบเข้ากับปลอกจับดอกสว่าน (SLEEVE) แล้วจึงประกอบเข้ากับเพลาเครื่องเจาะ ปลอกจับนี้มีหลายขนาด สำหรับก้านดอกสว่านที่มีขนาดต่างกัน เมื่อใช้งานสามารถนำมาประกอบร่วมกันได้

กรรมวิธีการถอดหัวจับออกจะเหมือนกันหมดไม่ว่าจะเป็นหัวจับชนิดใดก็ตาม รวมทั้งการถอดสว่านก้านเรียวอีกด้วย โดยการใช้เหล็กถอด (DRILL DRIFT OR TAPER DRIFT) มือหนึ่งจะประคองหัวจับไว้ อีกมือหนึ่งถือค้อนเคาะเหล็กถอดออก การเคาะจะต้องเคาะเบา ๆ ไม่เข้าในลักษณะของการตี เหล็กถอดจะเสียบเข้าไปในรูเพลาโดยเอาด้านตรงไว้ด้านบ้าน เมื่อเคาะด้านเรียวจะดันหัวจับออก



ดอกนำศูนย์
ดอกเจาะนำศูนย์
ดอกเจาะนำศูนย์ (Center Drill) เป็นดอกเจาะที่ใช้สำหรับการเจาะรูเรียวในช่วงเริ่มต้นของการทำงาน เพื่อจะนำไปใช้งานต่อหรือเจาะต่อ ซึ่งเรียกการเจาะนี้ว่าเจาะนำ ลักษณะของรูเจาะจะมีรูปร่างตามรูปแบบของคมดอกเจาะ ดอกเจาะนำศูนย์มีหลายขนาดให้เลือกใช้งาน และขึ้นอยู่กับผู้ผลิตจะผลิตออกมาใช้งาน ซึ่งในบางครั้งที่ขาดแคลนสามารถจะนำเอาดอกสว่านหัก หรือดอกสว่านเก่าที่เลิกใช้งานแล้ว มาลับแต่งให้ได้มุมกรวยแหลมตามต้องการ และมีมุมคายเศษด้วย ใช้เจาะแทนดอกเจาะนำศูนย์ได้

ความเร็วรอบที่ใช้กับดอกเจาะจะขึ้นที่ใช้กับดอกเจาะจะขึ้นอยู่กับขนาดของดอกเจาะนำศูนย์เอง โดยใช้ค่าความเร็วในการหมุนตัดเช่นเดียวกับดอกสว่าน

เหล็กตอกนำศูนย์
- ก่อนจะทำการเจาะจะต้องกำหนดตำแหน่งรูโดยใช้เหล็กขีดหมายตำแหน่งไว้ก่อน

- ใช้เหล็กนำศูนย์ตอกนำรูตรงตำแหน่งเจาะ แล้วจึงจับยึดชิ้นงานบนแท่นวางชิ้นงาน


No comments:

Post a Comment