Pages

Tuesday, 24 May 2011

อันตรายที่อาจไดัรับสำหรับการตัดงานด้วยเครื่องพลาสม่า

อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจะเหมือนกับกระบวนการตัดและการเชื่อมทั่ว ๆ ไป เช่น ไฟไหม้, ความร้อน, เสียง, แก๊สพิษ , การแผ่รังสีความร้อน ก่อนการใช้งานควรจะมีการศึกษาคู่มือการใช้งานให้ละเอียด นอกจากนั้นยังอาจเกิดอันตรายจากแก๊สแรงดันสูง ซึ่งไวไฟและระเบิดได้ รวมถึงระบบน้ำหล่อเย็นด้วย



เครื่องตัดซีเอ็นซีพลาสม่า
ควันพิษที่เกิดจากการตัดพลาสม่า
ปริมาณควันพิษที่เกิดขึ้นจากการตัดพลาสม่า จะมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น กระแสที่เกิดจากการอาร์ค , ความเร็วในการตัด, วัสดุที่ตัด และชนิดของแก๊สที่ใช้ โดยผิวโลหะด้านที่ได้รับการตัดจะเกิดออกไซด์ของเหล็กที่ถูกตัด โอโซนและออกไซด์ของไนโตรเจน สำหรับการกำจัดควันพิษออกจากพื้นที่ทำงานจะใช้ระบบระบายอากาศซึ่งควรจะต้องผ่านกรองอากาศ ก่อนที่จะปล่อยออกสู่ภายนอก การควบคุมควันจากการตัด มีหลายวิธีได้แก่ การตัดบนโต๊ะที่มีน้ำและใช้น้ำรดที่หัวตัดเพื่อลดปริมาณควันจากการอาร์ค นอกจากนั้นยังคงใช้วิธีจุ่มชิ้นงานลงใต้ผิวน้ำ ซึ่งวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำป้อนเข้าไปที่หัวตัด

ระดับเสียงของการตัดพลาสม่า
ปริมาณของเสียงที่หัวตัดพลาสม่า จะขึ้นอยู่กับปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่หัวตัดซึ่งโดยปกติจะมีระดับที่ 110 เดซิเบล ที่ 400 A โดยเสียงดังกล่าวมีความถี่อยู่ระหว่าง 5,000 – 20,000 Hz ดังนั้นผู้ใช้งานควรมีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงในขณะทำงาน

สำหรับการควบคุมระดับเสียงจะใช้วิธีใช้น้ำรด ซึ่งจะทำหน้าที่ดูดซับเสียงรอบ ๆ Nozzle ของหัวตัด และน้ำที่อยู่ใต้แผ่นงาน จะช่วยป้องกันเสียงเล็ดลอดลงมาจากรอยที่ตัด ซึ่งจะสามารถลดระดับเสียงลงได้ประมาณ 20 เดซิเบล วิธีการตัดใต้ผิวน้ำจะช่วยลดระดับเสียงลงได้มากกว่าวิธีใช้น้ำรดเนื่องจากการอาร์คจะเกิดใต้ผิวน้ำ

การแผ่รังสี
การอาร์คของพลาสม่าจะก่อให้เกิดรังสี UV และรังสีอินฟราเรด ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อดวงตาและผิวหนัง นอกจากนั้นการแผ่รังสียังทำให้เกิด โอโซน , ออกไซด์ของไนโตรเจน และแก๊สพิษอื่น ๆ โดยรอบอีกด้วย จึงจำเป็นต้องสวมใส่แว่นตาและผ้าคลุมผิวหนังไว้ โดยตารางที่ 4. ได้แนะนำการตัดที่พิกัดกระแสต่าง ๆ นอกจากนี้ยังอาจใช้ผนังและม่านป้องกันไว้

No comments:

Post a Comment