Pages

Friday, 22 July 2011

จุดบกพร่องในงานเชื่อมสเตนเลส

การเชื่อมสเตนเลส คือ การประสานสเตนเลส 2 ชิ้น (สเตนเลสทั้ง 2 ชิ้นจะเป็น สเตนเลสชนิดเดียวกันหรือต่างกันก็ได้ หรือชิ้นหนึ่งเป็นสเตนเลสอีกชิ้นเป็นโลหะอื่นก็ได้) ให้ยึดติดกันโดยการให้ความร้อนแก่สเตนเลส ตรงบริเวณรอยต่อจนกระทั่งสเตนเลสเกิดการหลอมละลายแล้วประสานติดกัน ในขณะที่สเตนเลสกำลังหลอมละลายอยู่นั้นอาจเติมลวดเชื่อมประสานลงไปบริเวณรอยต่อหรือไม่ก็ได้ ในการเชื่อมบางแบบอาจใช้แรงกดบริเวณรอยต่อในขณะที่สเตนเลสกำลังหลอมละลายอยู่ เพื่อช่วยทำให้เนื้อสเตนเลสประสานติดก้นดียิ่งขึ้น



จุดบกพร่องในงานเชื่อมสเตนเลส

การเชื่อมสแตนเลส (Welding Stainless Steel)
- ฟองอากาศ (Porosity) เกิดจากแก๊สภายในของเนื้อแนวเชื่อมของสเตนเลส ซึ่งไม่สามารถขับออกมาด้านนอกได้

- สารมลทินฝังใน (Slag inclusion) เกิดจาการรวมตัวของสารที่ไม่ใช่โลหะฝังอยู่ในแนวเชื่อมหรือระหว่างแนวเชื่อมกับสเตนเลส มักพบได้ในงานเชื่อมไฟฟ้า อันเป็นผลมาจากความผิดพลาดทางด้านเทคนิคการเชื่อม

- การหลอมละลายไม่สมบูรณ์ (Incomplete Fusion) การหลอมละลายไม่สมบูรณ์เป็นผลมากจากเทคนิคการเชื่อม รวมทั้งการเตรียมรอยต่อไม่ถูกต้อง หรือการออกแบบแนวเชื่อมไม่ดี

- รอยต่อไม่หลอมละลาย (Incomplete penetration) เป็นลักษณะของการซึมลึกตรงรอยต่อไม่เพียงพออาจจะเกิดจากความร้อนไม่เพียงพอ หรือการออกแบบไม่ถูกต้อง

- รอยเชื่อมไม่เต็ม (Underfill) คือ รอยเชื่อมไม่เต็มอาจจะเป็นด้านหน้าหรือด้านรากแนวเชื่อม เป็นผลมาจากช่างเชื่อมไม่เติมให้เต็ม

- รอยกัดแหว่ง (Undercut) โดยทั่วไปแล้วเกิดจากเทคนิคการเชื่อมหรือใช้กระแสไฟมากเกินไป

- รอยพอกเกย (Overlap) คือ ส่วนของรอยเชื่อมพอกเกยออกมาจากแนวเชื่อม โดยที่ไม่หลอมละลาย อาจจะเกิดที่ด้านหน้าหรือด้านรากของแนวเชื่อม เป็นผลมาจากการควบคุมการเชื่อมไม่ดี

- รอยแยกชั้น (Laminations) ส่วนใหญ่จะเกิดตามยาวของวัสดุ ปกติจะพบที่กึ่งกลางของชิ้นงาน อาจจะตรวจได้โดยใช้ คลื่นเสียงความถี่สูง

- รอยแยกชั้นแบบเป็นโพรง (Delamination) เป็นการแยกออกจากกันของรอยแยกชั้นอันเนื่องมาจากรอยแยกชั้น

- รอยตะเข็บและรอยเกย (Seam and Laps) คือ จะเกิดตามความยาวของโลหะอาจพบในการผลิตเหล็ก

No comments:

Post a Comment