Pages

Monday, 18 July 2011

การเชื่อมสเตนเลส (welding stainless steel)

การเชื่อมสเตนเลส (welding stainless) เป็นที่เข้าใจกันว่าคือการต่อสเตนเลส 2 ชิ้นให้ติดกัน โดยการให้ความร้อนแก่สเตนเลสจนหลอมละลายติดเป็นเนื้อเดียวกันหรืออาจใช้ลวดเชื่อมด้วยก็ได้



ส่วนความหมายที่สมบูรณ์ของการการเชื่อมสเตนเลส คือ การประสานสเตนเลส 2 ชิ้น (สเตนเลสทั้ง 2 ชิ้นจะเป็น สเตนเลสชนิดเดียวกันหรือต่างกันก็ได้ หรือชิ้นหนึ่งเป็นสเตนเลสอีกชิ้นเป็นโลหะอื่นก็ได้) ให้ยึดติดกันโดยการให้ความร้อนแก่สเตนเลส ตรงบริเวณรอยต่อจนกระทั่งสเตนเลสเกิดการหลอมละลายแล้วประสานติดกัน ในขณะที่สเตนเลสกำลังหลอมละลายอยู่นั้นอาจเติมลวดเชื่อมประสานลงไปบริเวณรอยต่อหรือไม่ก็ได้ ในการเชื่อมบางแบบอาจใช้แรงกดบริเวณรอยต่อในขณะที่สเตนเลสกำลังหลอมละลายอยู่ เพื่อช่วยทำให้เนื้อสเตนเลสประสานติดก้นดียิ่งขึ้น



ประเภทของการเชื่อมสเตนเลส
เราสามารถแบ่งประเภทของการเชื่อมสเตนเลสโดยอาศัยแหล่งให้พลังงานความร้อนได้เป็น 4 กลุ่ม อันได้แก่

การเชื่อมสเตนเลส (welding stainless steel)
1. การเชื่อมแก๊ส (gas welding) อาศัยความร้อนจากการเผาไหม้ของแก๊สเชื้อเพลิง อย่างแก๊สอะเซทีลีน กับแก๊สออกซิเจน อุณหภูมิของการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ ให้ความร้อนสูง 3200 องศาเซลเซียส และจะไม่มีเขม่าหรือควัน

2. การเชื่อมอาร์ค (arc welding) อาศัยความร้อนที่เกิดจากการอาร์กของกระแสไฟฟ้า เกิดประกายอาร์คระหว่างชิ้นงานและลวดเชื่อม ซึ่งการหลอมละลายของลวดเชื่อมจะทำหน้าที่ป้อนเนื้อโลหะให้แก่แนวเชื่อม

3. การเชื่อมความต้านทาน (resistance welding) อาศัยความร้อนจากความต้านทานกระแสไฟฟ้า จากนั้นใช้แรงอัดส่วนที่หลอมละลายจนกระทั่งชิ้นงานติดกันเป็นจุด หรือเป็นแนวความร้อนที่ใช้ได้จากความต้านทานไฟฟ้า

4. การเชื่อมรังสี อาศัยความร้อนจากรังสีส่งต่อพลังงานความร้อนไปสู่ชิ้นงาน สามารถเชื่อมเข้าถึงจุดที่ยากๆที่ต้องการเชื่อมได้เป็นอย่างดี จุดที่เชื่อมสามารถกำหนดให้มีขนาดใหญ่หรือเล็กได้ จึงลดปัญหาการแตกร้าวหลังจากการเชื่อม ลดปัญหาการเกิดโพรงอากาศในแนวเชื่อม

No comments:

Post a Comment