Monday 13 September 2010

ลวดเชื่อม

ลวดเชื่อม (Electrode Wire) ส่วน ผสมของลวดเชื่อมจำเป็นจะต้องสัมพันธ์กับโลหะที่จะเชื่อม วิธีการเชื่อมต่างในการเชื่อมแบบ MIG และชนิดของแก๊สที่ใช้สำหรับปกป้องปกป้องจะได้จากตารางวิธีการปฏิบัติและแผน ภูมิการเลือก ขนาดของลวดเชื่อมที่ใช้ขึ้นอยู่กับวิธีเชื่อมและท่าเชื่อมเป็นสำคัญ ลวดเชื่อมทั้งหมดจะมีลักษณะแข็งเปลือย เว้นแต่ลวดเชื่อมชนิดเหล็กคาร์บอนจะเคลือบผิวด้วยทองแดงเพื่อป้องกันสนิม ลวดเชื่อมสำหรับการเชื่อมแบบ MIG นี้จะเตรียมไว้ในล้อที่สวมเข้ากับเครื่องได้พอดี และบรรจุไว้ในกล่องที่ป้องกันการเสื่อมจากการเก็บรักษาอย่างดี



การเลือกระบบการป้อนลวดเชื่อม (WIRE FEEDER SELECTION GUIDE)
การ ป้อนลวดเชื่อมจะถูกนำมาใช้กับระบบการเชื่อมทั้งแบบอัตโนมัติและกึ่ง อัตโนมัติความต้องการที่ต้องมีเครื่องป้อนลวดนี้คือ เพื่อต้องการจะป้อนลวดเชื่อมไปยังการอาร์กให้ติดต่อกันโดยรักษาให้การอาร์ กคงที่อยู่ในขนาดของกระแสไฟและโวลเทจอันหนึ่ง วงจรที่ใช้ควบคุมความเร็วของเครื่องป้อนลวดอาจใช้ควบคุมหน้าที่อื่น ๆ ได้อีกเช่น การเริ่มต้นอาร์กการไหลของแก๊สและน้ำ รวมทั้งการเคลื่อนที่หัวเชื่อมไปตามแนวต่อของงาน

ลวดเชื่อม
เครื่องป้อนลวดเชื่อมแบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ
1. แบบที่ไวต่อแรงเคลื่อนไฟฟ้า (Voltage Sensing Type)
2. แบบความเร็วคงที่ (Constant Speed Type)

แบบที่ไวต่อแรงเคลื่อนไฟฟ้า (Voltage Sensing Type)
เป็นแบบที่ควบคุมความเร็วของลวดเชื่อมให้ช้าหรือเร็ว เพื่อรักษาอาร์กโวลเทจให้มีค่าเท่ากับค่าโวลเทจที่ตั้งไว้ในตอนแรก เครื่องป้อนลวดแบบนี้จะใช้กับเครื่องเชื่อมชนิดกระแสไฟคงที่ (Constant Current (CC) ระบบควบคุมนี้จะทำหน้าที่ป้อนลวดเชื่อมแทนผู้ปฏิบัติงาน ความเร็วของลวดเชื่อมอาจจะมีความเร็วลดลงหรือเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพื่อต้องการรักษาอาร์กโวลเทจให้คงที่อยู่ในขนาดที่กำหนดไว้ ส่วนการปรับกระแสไฟเชื่อมจะปรับที่เครื่องเชื่อม ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องเชื่อมชนิดกระแสไฟ AC หรือ DC ก็ได้ ตามปกติเครื่องป้อนลวดแบบนี้จะใช้ป้อนลวดที่มีขนาดโต เพราะในตอนแรกได้วิวัฒนาการใช้กับการเชื่อมแบบใต้ฟลั๊ก (Submerged) ระบบป้อนลวดเชื่อมอาจจะรวมระบบการเริ่มต้นอาร์กแบบอัตโนมัติเข้าไปด้วยระบบ เครื่องป้อนลวดแบบที่ไวต่อแรงเคลื่อนไฟฟ้านี้จะควบคุมตัวมันเอง (Self-Regulating) เมื่อใช้กับเครื่องเชื่อมชนิดกระแสไฟคงที่ (CC )



แบบความเร็วคงที่ (Constant Speed Type)
เป็นแบบที่มีอัตราการละลายของลวดเชื่อมคงที่ด้วยขนาด ของกระแสที่สัมพันธ์กันเป็นแบบที่ใช้กับเครื่องเชื่อมชนิดโวลเทจคงที่ (Constant Voltage (CV) ความเร็วของลวดเชื่อมกำหนดได้โดยการตั้งที่ตัวปรับความเร็ว ขนาดของกระแสไฟจะปรับปริมาณให้พอดีกับอัตราการละลายที่ส่งป้อนไปยังแนว เชื่อมได้โดยอัตโนมัติ ดังนั้นที่จริงแล้วตัวควบคุมความเร็วของลวดเชื่อมก็คือตัวควบคุมกระแสไฟนั่น เอง การควบคุมโวลเทจที่การอาร์ก ควบคุมได้โดยการเปลี่ยนโวลเทจทางออกของเครื่อง
เครื่องป้อนลวดจะต้องมีขนาดสัมพันธ์กับขนาดของเครื่องเชื่อม และจะต้องป้อนลวดของกระแส (โดยประมาณ) กับอัตราการละลายของลวดเชื่อมในขนาดและชนิดต่าง ๆ กันดูตารางปฏิบัติการสำหรับอัตราเร็วในการป้อนลวด
เครื่องป้อนลวดจำเป็นต้องมีมอเตอร์ขับป้อนที่มีขนาดโตพอที่จะเอาชนะแรงเสียด ทานและอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ความยาวของหลอดสายชนิดของรูและพื้นผิวภายใน (Liner and Internal Surface) ชนิดของหัวเชื่อม (gun) ซึ่งอาจเป็นชนิดตรงหรือชนิดโค้งงอ รวมทั้งขนาดและผิวของลวดเชื่อมเอง ล้อขับควรมีร่องเพื่อป้องกันลวดเชื่อมออกนอกทางหรือบีบลวดเชื่อมแบน

No comments:

Post a Comment

แลกลิงค์

Create your own banner at mybannermaker.com!
Copy this code to your website to display this banner!
ต้องการแลกลิงค์ติดต่อ plasmamax@gmail.com