ข้อจำกัดของการเชื่อมแบบ MIG เมื่อเปรียบเทียบกับการเชื่อมแบบไฟฟ้า (SMAW)
- อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมแบบ MIG ซับซ้อนมากกว่า และการใช้งานยุ่งยากกว่า
- เปรียบเทียบหัวเชื่อมแบบ MIG จะมีความยากต่อการเข้าถึงพื้นที่ บริเวณที่เชื่อม
- ในการเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน การเชื่อมแบบ MIG ชิ้นงานอาจแตกร้าวได้ เพราะไม่มี Slag ปกคลุมรอยเชื่อม เพื่อลดอัตราการเย็นตัวของรอยเชื่อม
- MIG ไม่ต้องการเชื่อมบริเวณที่มีลมพัด เพราะจะทำให้แรงลมพัดพาเอาแก๊สที่ปกคลุมรอยเชื่อมหนีออก จากรอยเชื่อม ดังนั้นการเชื่อมแบบ MIG จึงเหมาะกับบริเวณที่ไม่มีลมพัด จึงทำให้มีความเหมาะสมน้อย กว่าการเชื่อมแบบไฟฟ้าเพราะสามารถเชื่อมได้ทุก สถานะ
เครื่องเชื่อมที่ใช้สำหรับเชื่อมกับลวดเชื่อมชนิดสิ้นเปลือง (consumable Electrode) นี้เป็นเครื่องชนิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าคงที่ (Constant Voltage) หรือ CV Type ซึ่งเป็นเครื่องที่ให้คุณลักษณะทางไฟฟ้า โดยมีเคิร์บของโวลท์และแอมแปร์อยู่ในลักษณะราบ (Flat) โวลเทจทางออก (Out Put Voltage) จะต้องคงที่ตลอดเวลาไม่ว่ากระแสจะเปลี่ยนแปลงไปขนาดใดก็ตาม การปรับโวลเทจปรับได้โดยปรับที่ รีโอสแตท (Reostat) ซึ่งสร้างติดมากับ Generator เครื่องเชื่อมชนิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าคงที่นี้ไม่มีตัวควบคุมหรือปรับกระแสไฟ จึงไม่สามารถจะนำไปใช้กับการเชื่อมด้วยธูปเชื่อมธรรมดาได้ กระแส (Out Put Current) ของเครื่องอาจถูกควบคุมด้วยแรงดัน (Load) ที่ป้อนเข้าไปและความเร็วของการป้อนลวดเชื่อมตามปกติกระแสไฟตรงขั้วบวก (DCRP จะถูกใช้กับการเชื่อมแบบ MIG เครื่องเชื่อมที่ใช้จะมีขนาดตั้งแต่ 150 แอมแปร์ จนถึง 1000 แอมแปร์)
ส่วนประกอบสำคัญอุปกรณ์การเชื่อมด้วย MIG
1. เครื่องเชื่อม (Welding Machine) หรือต้นกำลัง
2. ระบบการป้อนลวดและตัวควบคุม (Wire Feeder System and Control)
3. หัวเชื่อมและชุดสายประกอบการเชื่อม (Welding Gun and Cable Assembly) ใช้เรียกเมื่อใช้กับการเชื่อมด้วยวิธีกึ่งอัตโนมัติ) หรือทอร์ชเชื่อม (Welding Torch ใช้เรียกเมื่อใช้กับการเชื่อมด้วยวิธีอัตโนมัติ)
4. แหล่งจ่ายแก๊สเพื่อใช้ปกป้องและอุปกรณ์ควบคุมแก๊ส (Shielding Gas Supply and Controls)
5. ลวดเชื่อม (Electrode Wire)
เครื่องป้อนลวดเชื่อม |
ระบบการป้อนลวดเชื่อมต้องมีขนาดที่สัมพันธ์กัน เพราะการเชื่อมด้วยระบบแรงเคลื่อนไฟฟ้าคงที่ (CV) นี้ อัตราการหลอมละลายของลวดเชื่อมกับกระแสไฟฟ้าที่ใช้จะต้องสัมพันธ์กัน ในอัตราเร็วของการป้อนลวดอันหนึ่งเครื่องจะส่งกระแสขนาดพอดีอันหนึ่งเพื่อ รักษาการอาร์กให้คงที่อยู่ตลอดเวลา อัตราเร็วในการป้อนลวดเชื่อมจะเป็นตัวกำหนดขนาดของกระแสไฟให้ไปยังการอาร์ก หรือจะพูดอีกนัยหนึ่งคือ ตัวควบคุมความเร็วการป้อนลวดเชื่อมจะเป็นตัวปรับกระแสไฟในการเชื่อม ระบบการเชื่อมด้วยแรงเคลื่อนไฟฟ้าคงที่ (CV) จึงเป็นระบบที่ควบคุมตัวเองได้ดี จะเป็นผลดีมากขึ้นเมื่อใช้กับลวดขนาดเล็ก ดังมีการเปลี่ยนแปลงประดิษฐ์เครื่องป้อนลวดขนาดเล็กอยู่ในปืนเชื่อม ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในการเชื่อมลวดอลูมิเนียมขนาดเล็ก
No comments:
Post a Comment