ในการใช้งานเครื่องจักรกลซีเอ็นซีบ่อยครั้งที่เราพบว่าเครื่องจักรเก่าๆ ที่มีฟังก์ชั่นการทำงานที่ล้าสมัย หรือส่วนประกอบบางส่วนอาจเกิดความเสียหายทำให้ไม่สามารถใช้งานได้แต่ส่วน ประกอบหลัก ๆ ยังสามารถใช้งานได้ดี ดังนั้น การปรับปรุงฟังก์ชันการทำงานของเครื่องจักรโดยปรับปรุงชุดควบคุมซีเอ็นซี (CNC Controller) การปรับปรุงระบบขับเคลื่อนแกน (Axis Drive System) เช่น มอเตอร์ Motor), ไดร์ฟเวอร์ (Driver) และการปรับปรุงระบบแมคคานิค (Mechanic System) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามอย่างรวมกันเพื่อให้เครื่องจักรที่เสีย หาย หรือล้าสมัยสามารถนำ กลับมาใช้งานได้อีกครั้งเรียกว่า การรีโทรฟิต
Retrofit Machine |
ชนิดของการรีโทรฟิตขึ้นอยู่กับสภาพ ของเครื่องจักร และฟังก์ชันการทำงานที่ต้องการหลังจากการรีโทรฟิต หากเครื่องจักรเดิมเกิดความเสียหายมากหรือต้องการฟังก์ชันการทำงานพิเศษรวม ทั้งเครื่องจักรอาจมีอุปกรณ์เพิ่มเติม แน่นอนว่าการรีโทรฟิตย่อมต้องการทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญสูงรวมทั้งต้นทุน ในการพัฒนาซอฟแวร์เพิ่มเติม อย่างไรก็ตามเราสามารถแบ่งการรีโทรฟิตได้สามระดับตามความเสียหาย และความคุ้มค่าโดยประยุกต์ให้เหมาะสมกับผู้ประกอบการในไทย ดังนี้
1. แบบพื้นฐาน
คือ การเปลี่ยนเฉพาะชุดควบคุมซีเอ็นซีเหมาะสำหรับเครื่องจักรที่อุปกรณ์ในระบบ ควบคุมมีปัญหา เช่น หน้าจอ (Monitor) การ์ด (Crad) หรือเมนบอร์ด (Mainboard) เกิดการชำรุดเสียหายจากอายุการใช้งานไม่สามารถซ่อมหรือนำมาเปลี่ยนใหม่ได้ เนื่องจากผู้ผลิตได้ยกเลิกการผลิตอุปกรณ์ดังกล่าว เพราะล้าสมัยหรือมีรุ่นใหม่มาแทน ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้แต่ระบบอื่น ๆ เช่น ระบบขับเคลื่อนแกน,ระบบแมคคานิคและบอลสกรู
(Ball Screw) ยังมีสภาพดีหากได้ รับการเปลี่ยนชุดควบคุมซีเอ็นซีสามารถนำเครื่องจักรเหล่านี้กลับมาใช้งานได้ อีกครั้งอย่างไรก็ตามการรีโทรฟิตแบบพื้นฐานใช้ต้นทุนต่ำความสำเร็จจึงมีน้อย เมื่อ เทียบกับการรีโทรฟิตแบบกึ่งสมบูรณ์ และแบบสมบูรณ์
2. แบบกึ่งสมบูรณ์
เป็นการเปลี่ยนเฉพาะอุปกรณ์ ควบคุมทางไฟฟ้าที่สำคัญ คือ ชุดควบคุมซีเอ็นซี (คอนโทรลเลอร์) และมอเตอร์-ขับเคลื่อนแกนทั้งหมด จากข้อ 1 ผู้อ่านได้ทราบถึงกระบวนการเปลี่ยนหรือปรับปรุงคอนโทรลเลอร์ไปแล้ว เพราะฉะนั้นจึงขอกล่าวเพิ่มเติมในส่วนของระบบขับเคลื่อนแกน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เซอร์โวมอเตอร์ (Servo Motor) เป็นตัวขับเคลื่อนสำหรับเทคโนโลยีเดิมจะมีทั้งสเตปเปอร์มอเตอร์(Stepper Motor) และมอเตอร์กระแสตรง (DC Motor) มักจะเกิดปัญหา เช่น การสึกหรอของหน้าแปรงถ่าน การสึกหรอของลูกปืนที่โรเตอร์ของมอเตอร์ ซึ่งในประเทศไทยการที่จะหาอะไหล่เหล่านี้เป็นเรื่องยากหรือถ้ามีส่วนใหญ่มัก เป็นของมือสอง และมีราคาสูงผู้ขายไม่สามารถรับประกันได้ การรีโทรฟิตแบบนี้สามารถให้ความสำเร็จในระดับปานกลางด้วยราคาต้นทุน
ในระดับปานกลางเช่นกัน
3. แบบสมบรูณ์
หลังจากที่ได้ทราบถึงการรีโทรฟิตใน ข้อที่ 1 และ 2 แล้วการรีโทรฟิตที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุดลำดับสุดท้ายคือ แบบสมบูรณ์ โดยการเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมทางไฟฟ้าเกือบทั้งหมดโดยรวมถึงการเปลี่ยน คอนโทรลเลอร์ระบบมอเตอร์ขับเคลื่อนแกนทั้งหมด และบอลสกูรทั้งหมดซึ่งจะได้ความถูกต้องแม่นยำในการเคลื่อนที่ใกล้เคียงกับ เครื่องจักรใหม่ในงบประมาณการลงทุนของผู้ประกอบการที่ต่ำกว่ามาก การรีโทรฟิตยังขึ้นอยู่กับระบบอื่น ๆ ที่สำคัญ
ที่เกี่ยวข้องกับตัวเครื่องจักรอีกด้วย เช่น แบบแปลน ระบบของเครื่อง (System Diagram), ระบบลมอัด (Pneumatic System), ระบบไฮดรอลิค (Hydraulic System) และฟังก์ชั่นที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับเครื่องจักรนั้น ๆ
No comments:
Post a Comment