คีม |
คีม ( Pliers )
เป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นต้องต่อการใช้งานของช่างในหลายๆสาขา ซึ่งคีมมีประโยชน์อยู่หลายประการ เช่น ใช้สำหรับจับวัสดุ-อุปกรณ์, ตัดเหล็กบางๆ ตัดลวด และการขึ้นรูปชิ้นส่วน เป็นต้น
คีมที่ใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์จะต้องเป็นคีมที่มีฉนวนห่อหุ้มที่ด้ามจับทั้ง 2 ข้าง เพื่อความปลอดภัยในการ ทำงานส่วนมากคีมที่พบเห็นในงานด้านอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานทั่วไปจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ
1.คีมตัด (Cutting pliers) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดสายไฟ, ตัดขาอุปกรณ์ และบางทีสามารถใช้ในการปลอกสายไฟได้
2.คีมปากยาว (Long nose pliers) เป็นคีมที่ใช้ในการจับชิ้นงานขนาดเล็ก, ใช้ในการตัดขาอุปกรณ์ เช่น ขาตัวต้านทาน, ขาตัวเก็บประจุ เป็นต้น บางทีอาจจะใช้ในการขันนอต-สกรูที่มีพื้นที่จำกัด
คีมที่ใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์จะต้องเป็นคีมที่มีฉนวนห่อหุ้มที่ด้ามจับทั้ง 2 ข้าง เพื่อความปลอดภัยในการ ทำงานส่วนมากคีมที่พบเห็นในงานด้านอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานทั่วไปจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ
1.คีมตัด (Cutting pliers) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดสายไฟ, ตัดขาอุปกรณ์ และบางทีสามารถใช้ในการปลอกสายไฟได้
2.คีมปากยาว (Long nose pliers) เป็นคีมที่ใช้ในการจับชิ้นงานขนาดเล็ก, ใช้ในการตัดขาอุปกรณ์ เช่น ขาตัวต้านทาน, ขาตัวเก็บประจุ เป็นต้น บางทีอาจจะใช้ในการขันนอต-สกรูที่มีพื้นที่จำกัด
ข้อควรระวังในการใช้คีม
ไม่ควรใช้คีมตัดในการตัดวัสดุที่มีความแข็ง ตัวตะปู,สกรู หรือสายไฟขนาดใหญ่ เพราะอาจทำให้คีมหมดสภาพความคม หรือชำรุดเสียหายได้
ปากกาจับชิ้นงาน |
ปากกาจับชิ้นงาน ( Bench Vise ) เป็นเครื่องมือสำหรับประกอบหรือใช้สำหรับการทำงาน โดยใช้จับชิ้นงานให้แน่นเพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงานอื่น เช่น จับโลหะ ไม้ พลาสติกอื่น ๆ ในการตัดเจาะ ตัด ขัด ตอก หรือตะไบ เป็นต้น ปากกามีหลายชนิด เช่น
1.ปากกาจับโลหะ ลักษณะการใช้งาน เป็นปากกาที่ยึดแน่นบนโต๊ะสำหรับใช้งาน ใช้สำหรับจับโลหะให้แน่นเพื่อตัด ขัด เจาะ ตะไบ ลบคม หรือขันชิ้นงานต่างๆ
การบำรุงรักษา
-ไม่ใช้ปากการองรับเหล็กเพื่อทุบ จะทำให้ปากกาหักได้ง่าย
- ทำความสะอาดทุกส่วนของปากกา ชโลมด้วยน้ำมันเพื่อป้องกันสนิม
- เมื่อเลิกใช้งาน ขันให้เข้าไปให้ชิด
2.ปากกาจับไม้ มีอยู่หลากหลายแบบแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของการใช้งาน เช่น
2.1 ปากกาหัวโต๊ะ ลักษณะการใช้งาน เป็นปากกาที่ยึดแน่นอยู่กับด้านข้างหัวโต๊ะใช้งาน ใช้สำหรับจับไม้ในการตัด
การบำรุงรักษา
- เมื่อเลิกใช้งานขันปากกาเข้าไปให้ชิด
- ทำความสะอาด ใส่จารบีที่เกลียวหมุน
2.2ปากกาจับไม้ ลักษณะการใช้ เป็นปากกาสำหรับจับชิ้นงานไม้ อัดชิ้นงานไม่เข้าด้วยกัน ซึ่งเหมาะกับงานขนาดเล็ก
การบำรุงรักษา
- เมื่อเลิกใช้ใช้เลื่อนปากกาเข้าชิดกัน ขันเกลียวให้ชิด
- ทำความสะอาด ชโลมน้ำมัน ทาจารบีที่เกลียวไว้ให้ชุ่ม
2.3 ปากกาจับไม้ ลักษณะการใช้ เป็นปากกาที่มี 2 ส่วนเป็นไม้ เลื่อนเข้าหากันโดยใช้ เกลียวน๊อตขนาดใหญ่เป็นไม้หรือเป็นน๊อตโลหะ ซ้าย – ขวา ใช้สำหรับบีบ อัด ไม้แผ่น แผ่นไม้อัดเข้าหากันให้แน่น
การบำรุงรักษา
- เมื่อเลิกใช้ทำความสะอาด
- ขันเกลียวน๊อตทั้ง 2 ข้าง ให้ตัวปากกาเข้าหากันให้แน่น
- ทาจารบีที่เกลียวน๊อต (โลหะ)
2.4ปากกาอัดไม้หรือแม่แรงอัดไม้ ลักษณะการใช้งาน เป็นปากกาสำหรับใช้ในการอัดไม้เข้าหากันให้แน่น เช่น การอัดพื้น อัดไม้แผ่น อัดประกอบชิ้นงาน มีขนาดความยาวติดเป็นเมตร เช่น 1 เมตร 0.50 เมตร 2.00 เมตร เป็นต้น
การบำรุงรักษา
1. เมื่อเลิกใช้ใช้เลื่อนปากกาเข้าชิดกัน ขันเกลียวให้ชิด
2. ทำความสะอาด ชโลมน้ำมัน ทาจารบีที่เกลียว
3. เลื่อนหน้าจับไม้ด้านท้ายเข้าหาด้านหน้า แล้วขันเกลียวให้หน้าทัง 2 ชิดกัน
4. ไม่ใช้ปากกาอัดไม้เป็นที่รองรับในการทุบเหล็ก หรือทุบตะปู
2.5 ซีแคลม (C-clamp) ลักษณะการใช้งาน เป็นเครื่องมือรูปตัว C ทำด้วยเหล็กหล่อ ใช้สำหรับจับงานโลหะเพื่อการเชื่อม จับงานไม้สำหรับในการอัดไม้แผ่นติดกัน มีขนาดความโตเป็นนิ้ว
การบำรุงรักษา
- หน้าสัมผัสจับงานให้เรียบอยู่เสมอ
-เกลียวทาจารบีเสมอ
- อย่าใช้แรงอัดมากเกินไป อาจทำให้หักได้
- ไม่ใช้รองรับในการทุบเหล็กหรือตะปู
3. ปากกาจับไม้ติดโต๊ะ สำหรับจับไม้เวลาวัด ตัด
การบำรุงรักษา
-ต้องทำความสะอาด และหยดน้ำมันกันเสนิมอยู่เสมอ
Tags:
No comments:
Post a Comment