Wednesday, 15 September 2010

การใช้แก๊สอาร์กอนเพื่อป้องกันรอยเชื่อม

การใช้แก๊สอาร์กอนเพื่อป้องกันรอยเชื่อม
เปลวไฟเชื่อมจะมีความสม่ำเสมอและมีเสถียรภาพ (stable) มากกว่าการใช้แก๊สชนิดอื่น ด้วยคุณสมบัติข้อนี้จึงมักใช้แก๊สอาร์กอนผสมกับแก๊สชนิดอื่น ๆ อาร์กอนจะทำให้ไฟเชื่อมไม่มีเสียงดังและลดปริมาณเศษเม็ดโลหะ(spatter)ด้วย



แก๊สอาร์กอน
อาร์กอนมีค่านำความร้อนต่ำ (thermal conductivity) ลำแสงของเปลวไฟจะถูกจำกัดให้แคบลงจึงทำให้เปลวไฟมีค่าความหนาแน่นสูง การที่ค่าความหนาแน่นของเปลวไฟมีค่าสูง จึงทำให้พลังงานจากเปลวไฟเชื่อม เปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อนถ่ายเทเข้าไปในชิ้นงานได้มากขึ้น ผลที่เกิดตามมาก็่คือ รอยเชื่อมมีลักษณะแคบ และมีการซึมลึกของรอยเชื่อมได้มากและดียิ่งขึ้น แต่ในงการเชื่อมงานบางอย่าง อาร์กอนก็ไม่ก่อให้เกิดการซึมลึกตามที่ต้องการในการเชื่อมโลหะแบบหนา

อาร์กอนจะแตกตัวเป็นอะตอมได้ดีกว่าฮีเลียม ทำให้อาร์กอนสามารถถ่ายเทพลังงานไฟฟ้าได้บางส่วน ด้วยเหตุนี้ อาร์กอนจึงใช้อาร์คโวลต์เทจ (arc voltage หมายถึงแรงเคลื่อนไฟฟ้า ที่สามารถไหลผ่านการอาร์กขณะเชื่อม) ต่ำกว่าของฮีเลียม ผลที่เกิดตามมาก็คือ ความร้อนของเปลวไฟเชื่อมเมื่อใช้อาร์กอนจะร้อนน้อยกว่าเปลวไฟเชื่อมเมื่อใช้ฮีเลี่ยม ดังนั้นจึงมักใช้แก๊สอาร์กอนในงานเชื่อมโลหะที่ใช้ทำเครื่องมือและวัสดุที่มีค่าความนำความร้อนต่ำ

ในการเชื่อมวัสดุจำพวกเหล็กกล้าคาร์บอน (corbon steel) โดยวิธีการเชื่อม  MIG มักจะไม่ใช้แก๊สอาร์กอนบริสุทธิ์ เพราะว่าจะทำให้การซึมลึกของรอยเชื่อมไม่ดี (poor penetration) เกิดอันเดอร์คัต (undercut หมายถึง รอยแหว่งที่เกิดขึ้นบนชิ้นงานตรงขอบรอยเชื่อม) และทำให้แนวเชื่อมแย่มาก (poor bead contour) การใช้แก๊สอาร์กอนในสมัยแรกใช้ในการเชื่อมโลหะที่ไม่ใช้เหล็ก (nonferrous) เช่น ทองแดงและโลหะผสมของอะลูมิเนียมกับแมกนีเซียม

ข้อดีของการใช้อาร์กอน
คือมีการซึมลึกของรอยเชื่อมดีและมีเศษเม็ดโลหะน้อย จึงทำให้การใช้ก๊าซอาร์กอนเป็นที่ต้องการใช้ในการเชื่อมงานท่าอื่นๆ ที่ไม่ใช่ท่าเชื่อมในแนวราบ

No comments:

Post a Comment

แลกลิงค์

Create your own banner at mybannermaker.com!
Copy this code to your website to display this banner!
ต้องการแลกลิงค์ติดต่อ plasmamax@gmail.com