การเชื่อมสแตนเลส (welding stainless steel) |
2. การเชื่อมมิก (MIG / MAX / GMAW) เป็นประเภทหนึ่งของการเชื่อมอาร์ค การเชื่อม MIG เป็นกระบวนการเชื่อมสเตนเลสที่ได้รับความร้อนจากการอาร์คระหว่างลวดเชื่อมกับชิ้นงาน ลวดเชื่อมที่ใช้จะเป็นลวดเชื่อมเปลือยที่ส่งป้อนอย่างต่อเนื่อง ไปยังบริเวณอาร์คและทำหน้าที่เป็นโลหะเติมลงยังบ่อหลอมละลาย บริเวณบ่อหลอมละลายจะถูกปกคลุมไปด้วยแก๊สเฉื่อย เพื่อไม่ให้เกิดการรวมตัวกับอากาศ แก๊สเฉื่อยจะใช้แก๊สอากอน 97% ผสมกับแก๊สออกซิเจน 3%
3. การเชื่อมใต้ฟลักซ์ (SAW) เป็นประเภทหนึ่งของการเชื่อมอาร์ค การเชื่อมใต้ฟลักซ์เป็นกระบวนการเชื่อมไฟฟ้า ที่ได้รับความร้อนจากการอาร์คระหว่างลวดเชื่อมเปลือยกับชิ้นงานเชื่อม โดยจะมีฟลักซ์ชนิดเม็ดปกคลุมบริเวณอาร์ค ทำให้ไม่เกิดรังสีและแสงขณะทำการอาร์ค และฟลักซ์ส่วนที่อยู่ใกล้กับเนื้อเชื่อมจะหลอมละลายปกคลุมเนื้อเชื่อมเพื่อป้องกันอากาศภาย นอกทำปฏิกริยากับแนวเชื่อม ส่วนฟลักซ์ที่อยู่ห่างจากเนื้อเชื่อมจะไม่หลอมละลาย และไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก
4. การเชื่อมความต้านทานแบบจุด (RSW) เป็นประเภทหนึ่งของการเชื่อมความต้านทาน ระบบการเชื่อมแบบจุด ใช้กรรมวิธีการส่งกระแสสูงมากๆ ผ่านแท่งอิเลคโทรดทองแดงที่หัวเชื่อมไปยังชิ้นงานซึ่งวางซ้อนทับกันอยู่เพื่อให้เกิดความร้อน ในการหลอมชิ้นงานให้ติดเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งรอยเชื่อมที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเป็นจุดเฉพาะ บริเวณที่ปลายหัวอิเลคโทรดทองแดงสัมผัสกับชิ้นงานเท่านั้น
5. การเชื่อมความต้านทานแบบแนวตะเข็บ (RSEW) เป็นประเภทหนึ่งของการเชื่อมความต้านทาน ระบบการเชื่อมแบบแนวต่อเนื่องเป็นเส้น ใช้กรรมวิธีการส่งกระแสสูงมากๆ ผ่านล้ออิเลคโทรดไปยังชิ้นงานซึ่งวางซ้อนทับกันอยู่เพื่อให้เกิดความร้อน ในการหลอมชิ้นงานให้ติดเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งรอยแนวเชื่อมที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเป็นเส้นต่อเนื่องตามการเคลื่อนที่ของล้ออิเลคโทรด
6. การเชื่อมพลาสมา (PAW) เป็นประเภทหนึ่งของการเชื่อมอาร์ค เป็นวิธีการเชื่อมสเตนเลสโดยใช้ความร้อนที่เกิดจากการอาร์คระหว่างลวดทังสเตนกับชิ้นงาน อาศัยกระบวนการอัดฉีดแก๊สให้เกิดการแตกตัวอย่างสมบูรณ์ระหว่างการอาร์คของอิเลคโทรด ซึ่งจะช่วยนำกระแสไฟฟ้าขึ้นหัวเชื่อมได้ดี ทำให้พลังงานความร้อนเพิ่มสูงขึ้น
No comments:
Post a Comment