การเชื่อมโลหะ |
การเชื่อมโลหะ(Welding) คือการทำให้โลหะหลอมละลายเข้าด้วยกันโดยใช้ความร้อน การเชื่อมมีหลายวิธีซึ่งแตกต่างกันตรงที่การเกิดความร้อนและวิธีการให้ความร้อนแก่ชิ้นงาน โลหะหลายชนิดสามารถเชื่อมประสานกันได้โดยใช้ความร้อนเพียงอย่างเดียว เรียกว่า การเชื่อมหลอมละลาย โดยที่ไม่ต้องเติมวัสดุประสานหรือลวดเชื่อมก็ได้
วิวัฒนาการของงานโลหะ
ในสมัยโบราณการหล่อโลหะจะเป็นการหลอมละลายโลหะแล้วเทลงบนแม่พิมพ์ ใช้ทำมีด ดาบโดยใช้วิธีการตีเหล็กที่ร้อนให้เชื่อมติดกัน
งานเชื่อมโลหะได้ถูกค้นพบโดยชาวตะวันตก โดยการนำไปใช้ในการเชื่อมทองคำซึ่งในปัจจุบันเราเรียกวิธีการนี้ว่า การบัดกรีแข็ง จนกระทั่งพุทธศตวรรษที่ 25 (พ.ศ. 2401-2500) ได้มีการค้นพบการเชื่อมไฟฟ้าขึ้น โดยใช้กระแสไฟฟ้าแรงสูงผ่านโลหะ 2 ชิ้นแล้วนำมาแตะกันทำให้โลหะติดกันได้ ต่อมาในปีพ.ศ. 2433 นักเคมีชาวฝรั่งเศสค้นพบว่าสามารถนำแก็สออกซิเจนผสมกับแก็สอะเซทิลีน เมื่อนำมาจุดไฟได้อุณหภูมิสูงมากซึ่งเป็นกระบวรการเชื่อมที่นิยมกันกว้างขวางมาก
เชื่อมโลหะ (Welding) |
ปัจจุบันงานเชื่อมมีบทบาทอย่างมากในวงการอุตสาหกรรมการก่อสร้างและอุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมการผลิตและการซ่อมแซมทั่วไป
กรรมวิธีการเชื่อม (Welding process)
กรรมวิธีการเชื่อมมีหลายวิธีแบ่งออกเป็นดังนี้
1. การเชื่อมแก๊ส ( Gas Welding )
2. การเชื่อมไฟฟ้า ( Arc Welding )
3. การเชื่อมแบบความต้านทาน ( Resistance Welding )
4. การบัดกรีแข็ง ( Branzing )
5. การเชื่อมในสภาวะของแข็ง (Solid state welding)
6. กรรมวิธีการเชื่อมแบบอื่นๆ (Other processes)
- การเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักส์ (Shield Metal-Arc welding)
- การเชื่อมชนิดอาร์กด้วยแท่งคาร์บอน (Carbon-Arc Welding)
- การเชื่อมชนิดอาร์กด้วยลวดเชื่อมมีฟลักส์อยู่ในแกนกลาง (Flux cored Arc Welding)
- การเชื่อมมิกส์ (Gas Metal-Arc welding)
- การเชื่อมทิก (Gas Tungsten Arc Welding)
- การเชื่อมแบบซับเมอร์ก (Submerged Arc welding)
- การเชื่อมแบบพลาสมา (Plasma Arc welding)
- การเชื่อมแบบสตัด (Stud welding)
Tags:
No comments:
Post a Comment