การใช้แก๊สสองชนิด (Dual gas) |
โดยจะมีการป้อนแก๊สอีกชนิดหนึ่งเข้าไปรอบๆ nozzle ซึ่งจะมีข้อดีคือ ช่วยเพิ่มการอาร์คและช่วยเป่าเศษโลหะที่ถูกตัดแล้วออกไป โดยทั่วไปแล้ว พลาสม่าแก๊ส ที่นิยมใช้ได้แก่ Ar , Ar-H2 หรือ N2 และแก๊สชนิดที่ 2 ที่นิยมใช้จะขึ้นอยู่กับชนิดของโลหะที่จะใช้ตัด เช่น เหล็ก นิยมใช้ อากาศ, ออกซิเจน , ไนโตรเจน สเตนเลส นิยมใช้ ไนโตรเจน , อาร์กอนผสมไฮโดรเจน , คาร์บอนไดออกไซด์ อลูมิเนียม นิยมใช้ ไนโตรเจน , อาร์กอนผสมไฮโดรเจน , คาร์บอนไดออกไซด์
การใช้น้ำฉีด (Water Injection) |
การใช้น้ำฉีด (Water Injection)
โดยปกติวิธีนี้จะใช้ไนโตรเจน เป็นพลาสม่าแก๊ส และใช้น้ำพ่นเข้าไปในแนวรัศมีเข้าสู่ลำของพลาสม่า ซึ่งจะช่วยเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นได้ถึง 30,000 องศาเซลเซียส ซึ่งข้อดีของการใช้วิธีนี้คือ
1. ช่วยเพิ่มคุณภาพของรอยตัด
2. เพิ่มความเร็วในการตัด
3. ลดการสึกหรอของ nozzle
การใช้น้ำราด (Water Shroud) |
การใช้น้ำราด (Water Shroud)
ลักษณะของการตัดชนิดนี้อาจใช้ชิ้นงานจุ่มลงในน้ำโดยให้อยู่ใต้ผิวน้ำ 50-70 ซม. ซึ่งข้อดีของวิธีนี้
1. ช่วยลดควัน
2. ช่วยลดเสียงจาก 155 เดซิเบล เหลือประมาณ 96 เดซิเบล
3. เพื่มอายุการใช้งานของ Nozzle
(Air plasma) |
หัวตัดแบบนี้จะใช้อากาศเป็นพลาสม่าแก๊ส แทนอาร์กอน หรือ ไนโตรเจน แต่จะต้องใช้อิเลคโตรดชนิดพิเศษที่ทำด้วย Hafnium หรือ Zirconium สวมแทน copper วิธีนี้แม้ว่าจะช่วยค่าใช้จ่ายของแก๊สได้แต่ก็ยังมีค่าใช้จ่ายของอิเลคโตรดซึ่งยังมีราคาค่อนข้างสูง
No comments:
Post a Comment