เครื่องกล
เครื่องกล หมายถึง อุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรงหรืออำนวยความสะดวก หรือทั้งช่วยผ่อนแรงและอำนวยความสะดวกเครื่องกลแบ่งเป็นหลายประเภท เช่น รอก คาน พื้นเอียง ลิ่ม สกรู ล้อ เพลา
1.รอก เป็นเครื่องกลที่ใช้สำหรับยกของขึ้นที่สูงหรือหย่อนลงไปในที่ต่ำ รอกมีลักษณะเป็นล้อมหมุนได้คล่องรอบตัว และมีเชือกพาดล้อสำหรับยกตัวและดึงวัตถุ
-รอกเดี่ยวตายตัว ( Fix Pulley ) เป็นรอกที่ไม่ช่วยผ่อนแรง แต่ช่วยอำนวยความสะดวก
E = แรงดึง ( นิวตัน )
W = น้ำหนักหรือความต้านทาน ( นิวตัน )
T = แรงดึงของเชือก ( นิวตัน ) เมื่อดึงวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่
E = T
T = W
*การคำนวณสูตร E = W
-รอกเดี่ยวเคลื่อนที่ ( Moveable Pulley ) เป็นรอกที่ช่วยอำนวยความสะดวกและช่วยผ่อนแรง
E + T = W
T = E ( เพราะเป็นเชือกเส้นเดียวกัน )
E + E = W
2E = W
*การคำนวณสูตร E = W/2
T = E ( เพราะเป็นเชือกเส้นเดียวกัน )
E + E = W
2E = W
*การคำนวณสูตร E = W/2
-รอกพวง ( Block Pulley ) เกิดจากการนำรอกหลายๆตัวมาผูกเป็นพวงเดียวกัน ทำให้ผ่อนแรงมากขึ้น การคำนวณให้คิดทีละตัว แบรอกเดี่ยว
E = แรงที่ใช้ดึงวัตถุ (นิวตัน)
W = น้ำหนักของวัตถุ (นิวตัน)
n = จำนวนรอกเดี่ยวเคลื่อนที่
สูตร E = W/2 ยกกำลัง n
2.พื้นเอียง คือ เครื่องกลที่ช่วยผ่อนแรง มีลักษณะเป็นไม้กระดานยาวเรียบ ใช้สำหรับพาดบนที่สูงเพื่อขนย้ายวัตถุขึ้นสู่ที่สูงโดยการลากหรือการผลัก
ประโยชน์ของพื้นเอียงคือ ช่วยอำนวยความสะดวกในการย้ายสิ่งของขึ้นหรือลง
E = แรงความพยายามหรือแรงที่ใช้ลากวัตถุ (นิวตัน)
d1 = ความยาวของพื้นเอียง (เมตร)
W = แรงความต้านทานหรือน้ำหนักของวัตถุ (นิวตัน)
d2 = ความสูงของพื้นเอียง
d1 = ความยาวของพื้นเอียง (เมตร)
W = แรงความต้านทานหรือน้ำหนักของวัตถุ (นิวตัน)
d2 = ความสูงของพื้นเอียง
สูตร Ed1 = Wd2
3.ล้อและเพลา เป็นเครื่องกลที่ช่วยผ่อนแรงประกอบด้วยวัตถุทรงกระบอก 2 อันติดกัน อันใหญ่เรียกว่าล้อ อันเล็กเรียกว่าเพลา ใช่เชือก 2 เส้น พันรอบล้อเส้นหนึ่ง อีกเส้นหนึ่งพันรอบเพลาโดยพันไปคนละทาง ปลายข้างหนึ่งของเชือกที่พันรอบเพลาผูกติดกับวัตถุ ปลายข้างหนึ่งของเชือกที่พันรอบล้อใช้สำหรับออกแรงดึง
E = แรงความพยายามหรือแรงที่ใช้ดึง (นิวตัน)
R = รัศมีของล้อ (เมตร)
W = แรงความต้านทานหรือน้ำหนักของวัตถุ (นิวตัน)
r = รัศมีของเพลา (เมตร)
R = รัศมีของล้อ (เมตร)
W = แรงความต้านทานหรือน้ำหนักของวัตถุ (นิวตัน)
r = รัศมีของเพลา (เมตร)
สูตร E R = W r (ไม่คิดแรงเสียดทาน)
No comments:
Post a Comment