Wednesday, 27 April 2011

การตัดขาดและการตัดแผ่นชิ้นงานออก

การตัดขาด (Cutoff)
การตัดขาดเป็นกระบวนการตัดอีกวิธีหนึ่งซึ่งจะต้องตัดตามเส้นที่ขีดเอาไว้และการตัดนั้นไม่จำเป็นต้องตัดเป็นเส้นตรงเสมอไป อาจตัดให้เป็นเส้นโค้งหรือเป็นเส้นตั้งฉากก็ได้ ชิ้นงานที่ได้จากการตัดโดยขบวนการนี้เรียกว่า แผ่นชิ้นงาน



การตัดขาดนั้นจะทำการตัดชิ้นงานบนดาย ดังนั้นกระบวนการนี้จึงถือเป็นกระบวนการขึ้นรูปโดยการกดกระแทก ที่แท่งดายนั้นจะถูกทำเป็นลักษณะของเส้นคมตัดหนึ่งเส้น (one single – line cut) เพื่อให้ได้แผ่นชิ้นงาน 1 แผ่นต่อการตัดหนึ่งสโตก (stroke) หรืออาจจะทำเส้นคมตัดสองเส้นที่เหมือนกัน (two identical single-line cuts) เพื่อตัดแผ่นชิ้นงานให้ได้สองแผ่นต่อการตัดหนึ่งสโตก หรืออาจจะทำการตัดแผ่นชิ้นงานให้ได้หลายๆ แผ่นต่อการตัดหนึ่งสโตก โดยการเพิ่มเส้นคมตัดให้มาก

การตัดเศษโลหะออก (Parting)
กระบวนการตัดเศษโลหะออกเป็นกระบวนการหนึ่งที่ทำการตัดโดยการใช้ขอบเส้นคมตัดสองเส้นบนแท่งพั้นช์ เพื่อตัดแผ่นชิ้นงานออกมาหนึ่งแผ่น และกระบวนการนี้เป็นการขึ้นรูปโดยการกดกระแทกกระบวนการหนึ่ง

การตัดแผ่นชิ้นงาน (Blanking Process)
การตัดแผ่นชิ้นงานออก (Blanking)
กระบวนการตัดแผ่นชิ้นงานออกเป็นกระบวนการตัดชิ้นงานอีกวิธีหนึ่ง โดยจะตัดโลหะแผ่นย่อยออกเป็นรูปต่างๆ ตามที่ต้องการ จะสังเกตเห็นว่าขณะที่มีการตัดนั้นจะมีแผ่นชิ้นงานหลุดออกมา แต่เศษโลหะที่เกิดจากการตัดยังไม่หลุดออกยังคงเป็นโลหะแผ่นย่อยซึ่งมีรูอยู่ตรงกลางมากมาย เศษโลหะจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อการตัดชิ้นงานได้ถูกดำเนินการไปจนกระทั่งหมดตามความยาวของโลหะแผ่นย่อยนั้น

Monday, 25 April 2011

การตัดโลหะแผ่น

การตัดโลหะแผ่นด้วยการใช้ Punch และ Die แผ่นชิ้นงานจะถูกตัดด้วยคมตัดสองอย่างคือ จะถูกตัดด้วยคมตัดของ Punch ซึ่งเป็นขอบของคมตัดในและคมตัดของ Die ซึ่งเป็นขอบของคมตัดนอก ระหว่างขอบของคมตัดด้านในและคมตัดด้านนอกจะมีช่องว่างเล็กๆเกิดขึ้นช่องว่างนี้เรียกว่า “Clearance” ในการตัดโลหะแผ่นแรงที่ให้แก่ Punch และ Die เพื่อใช้ในการตัดโลหะเรียกว่าแรงเฉือน (Shear force) แรงนี้จะมีขนาดเท่ากันและอยู่ตรงข้ามกันโดยมีช่องว่างเล็กๆ อยู่คั่นกลางแรงทั้งสองนี้ เมื่อมีแรงมากระทำต่อโลหะจะทำให้เกิดความเค้นเฉือน (Shear Stress) ขึ้นบนชิ้นงาน แต่ในโลหะแผ่นจะมีแรงที่ต่อต้านแรงเฉือน (Shear Strength) ถ้าแรงเฉือนมีขนาดมากพอที่จะทำให้เกิดความเค้นเฉือนมากกว่าความแข็งแรงของโลหะนั้นก็จะทำให้โลหะขาดออกจากกัน



กระบวนการตัดขึ้นรูปโลหะแผ่นด้วยการตัดเฉือน (Shearing)

Shearing Machine (เครื่องตัดโลหะแผ่น)
การตัดเฉือนเป็นกระบวนการตัดวิธีหนึ่งเพื่อตัดชิ้นงานให้ขาดออกจากกัน ลักษณะของการตัดนั้นจะต้องตัดให้ขาดเป็นเส้นตรงแต่เพียงอย่างเดียว ชิ้นงานที่ถูกตัดให้ขาดด้วยกรรมวิธีนี้จะเรียกชิ้นงานนั้นว่าแผ่นชิ้นงานหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการนำไปใช้งาน การตัดแบบเฉือนนี้ชิ้นงานจะถูกนำไปตัดบนเครื่องจักรที่เรียกว่า เครื่องตัดโลหะแผ่น (Square shears) ซึ่งเครื่องตัดโลหะแผ่นนี้อาจจะเป็นประเภทใช้มือโยก ใช้เท้าเหยียบ หรือใช้พลังงานอย่างอื่นช่วยตัดก็ได้ ที่ตัวเครื่องจะมีแผ่นใบมีดขนาดยาวตั้งแต่ 50 มม. ถึง 2000 มม. อยู่ 2 อันทำหน้าที่เป็นตัวตัดชิ้นงานและมีเกจสำหรับวัดความยาวของชิ้นงานที่จะตัดอยู่บนตัวเครื่องด้วย เครื่องตัดโลหะแผ่นแบบนี้มีขีดจำกัดอยู่อย่างหนึ่งคือ จะตัดชิ้นงานออกมาเป็นเส้นตรงๆ แต่เพียงอย่างเดียว

การตัดเฉือนนั้นเป็นกรรมวิธีในการตัดชิ้นงานให้ได้ชิ้นงานเป็นแผ่นชิ้นงานออกมา รูปร่างของแผ่นชิ้นงานจะเป็นแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน การใช้กรรมวิธีนี้ตัดชิ้นงานจะประหยัดได้มาก การตัดเฉือนนั้นไม่ใช่กระบวนการขึ้นรูปโดยการกดกระแทก (Stamping) เพราะว่าไม่มีการใช้ดายในกระบวนการนี้

Sunday, 24 April 2011

การตัดขึ้นรูปโลหะแผ่น

การตัดขึ้นรูปโลหะแผ่นนั้น แบ่งออกได้หลายกระบวนการด้วยกันตามชนิดของกรรมวิธีการตัดและการนำไปใช้งานในขั้นตอนต่อไป ทุกกระบวนการก็มีจุดประสงค์เดียวกันก็คือ การตัดชิ้นงานให้ออกมาเป็นรูปร่างแบบต่างๆ และเกือบทุกกระบวนการของการตัดขึ้นรูปนั้นจะใช้ทฤษฎีของการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร (Plastic deformation) และการแตกร้าวของโลหะ (fracture) เข้ามาใช้อธิบายในขบวนการตัดเหล่านั้นได้ นอกจากนั้นสูตรที่ใช้สำหรับการคำนวณหาแรงและงานที่ใช้ในการขึ้นรูปก็สามารถนำเข้ามาใช้ได้ ยกเว้นแต่กระบวนการตัดเรียบ (Shaving) เท่านั้นที่แตกต่างไปจากกระบวนการตัดขึ้นรูปแบบอื่นๆ



การตัดโลหะแผ่น
การตัดขึ้นรูปแบ่งออกได้ดังนี้
กระบวนการสำหรับการผลิตแผ่นชิ้นงาน (blank) ประกอบไปด้วย

- การตัดเฉือน (Shearing)
- การตัดขาด (cut off)
- การตัดเศษโลหะออก (Parting)
- การตัดแผ่นชิ้นงานออก (Blanking)

กระบวนการสำหรับการตัดเพื่อทำให้เป็นรู ประกอบด้วย

- การตัดรู (Punching)
- การตัดรูเป็นรูยาว (Slotting)
- การตัดรูเป็นกลุ่ม (Perforating)

กระบวนการสำหรับงานขึ้นรูปต่อเนื่อง

- การตัดขอบ (Notching)
- การตัดเศษโลหะตรงกลางโลหะแผ่นย่อย (Semi-Notching)
- การตัดบางส่วน (Lancing)
- การตัดเศษโลหะออก (Parting)
- การตัดขาด (Cutoff)

กระบวนการอื่นๆ

- การตัดขลิบริม (Trimming)
- การตัดขลิบริมตามแนวนอน (Horizontal Trimming)
- การแยกซอย (Slitting)
- การตัดเรียบ (Shaving)

Friday, 22 April 2011

การทำงานของเครื่องซีเอ็นซี (CNC)

CNC (Computer Numerical Control) คือ เครื่องจักรกลที่ใช้ผลิต หรือขึ้นรูปชิ้นงานที่มีมาตรฐานสูง ผ่านระบบการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยควบคุมการทำงานของเครื่องซีเอ็นซี ในขั้นตอนต่างๆ อย่างอัตโนมัติ แทนการใช้แรงงานคนควบคุมเครื่อง



การควบคุมเครื่องซีเอ็นซี แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ
1. การควบคุมการเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ (Movement)

2. การควบคุมความเร็วของการเคลื่อนที่ (Speed)

การทำงานของเครื่องซีเอ็นซี
หลักการทำงานของเครื่องจักรกลซีเอ็นซี
เครื่องจักรกลซีเอ็นซี (CNC) จะทำงานได้นั้น ระบบควบคุมของเครื่องจะต้องได้รับคำสั่งเป็นภาษาที่ระบบควบคุมเข้าใจได้เสียก่อนว่าจะให้เครื่องจักรกลซีเอ็นซีทำอะไร ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องป้อนโปรแกรมเข้าไปในระบบควบคุมของเครื่องผ่านแผงคีย์บอร์ด หรือแป้นพิมพ์ (Key Board) หรือเทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)

เมื่อระบบควบคุมอ่านโปรแกรมที่ป้อนเข้าไปแล้ว ก็จะนำไปควบคุมให้เครื่องจักรกลทำงานโดยอาศัยมอเตอร์ป้อน (Feed Motor) เพื่อให้แท่นเลื่อนเคลื่อนที่ได้ตามที่เราต้องการ เช่น เครื่องกลึงซีเอ็นซี (CNC Machine) ก็จะมีมอเตอร์ในการเคลื่อนที่อยู่ 2 ตัว หรือเครื่องกัดซีเอ็นซีก็จะมีมอเตอร์ป้อน 3 ตัว จากนั้นระบบควบคุมอ่านโปรแกรมเสร็จแล้ว ก็จะเปลี่ยนรหัสโปรแกรมนั้นให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเพื่อไปควบคุมให้มอเตอร์ทำงาน แต่เนื่องจากสัญญาณที่ออกจากระบบควบคุมนี้มีกำลังน้อย ไม่สามารถไปหมุนขับให้มอเตอร์ทำงานได้ ดังนั้น จึงต้องส่งสัญญาณนี้เข้าไปในภาคขยายสัญญาณของระบบขับ (Drive amplified) และส่งสัญญาณต่อไปยังมอเตอร์ป้อนแนวแกนที่ต้องการเคลื่อนที่ ตามที่โปรแกรมกำหนดความเร็วและระยะทาง

การเคลื่อนที่ของแท่นเลื่อนจะต้องกำหนดให้ระบบควบคุมรู้เนื่องจากระบบควบคุมซีเอ็นซี (CNC)ไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งจะแตกต่างกับช่างควบคุมเครื่องจักรที่อาศัยสายตามองดูตำแหน่งของคมตัดกับชิ้นงาน ก็จะรู้ว่าต้องเลื่อนแท่นเลื่อนไปอีกเป็นระยะทางเท่าใดถึงจะถึงชิ้นงาน ดังนั้น จึงต้องออกแบบอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่สามารถจะบอกตำแหน่งของแท่นเลื่อนให้ระบบควบคุมได้รู้ อุปกรณ์ชุดนี้เรียกว่า ระบบวัดขนาด (Measuring System) ซึ่งประกอบด้วยสเกลแนวตรง (Liner Scale) มีจำนวนเท่ากับจำนวนแนวแกนในการเคลื่อนที่ของเครื่องจักรกล ทำหน้าที่ส่งสัญญาณไฟฟ้าที่สัมพันธ์กับระยะทางที่แท่นเลื่อนเคลื่อนที่กลับไปยังระบบควบคุม ทำให้ระบบควบคุมรู้ว่าแท่นเลื่อนเคลื่อนที่ไปเป็นระยะทางเท่าใด

จากหลักการควบคุมการทำงานดังกล่าว ทำให้เครื่องจักรกลซีเอ็นซีสามารถผลิตชิ้นงานให้มีรูปร่าง และรูปทรงให้มีขนาดตามที่เราต้องการได้ เนื่องจากการสร้างและการทำงานที่เหนือกว่าเครื่องจักรกลทั่วไป จึงทำให้เครื่องจักรกลซีเอ็นซีเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญมากในปัจจุบันนี้ หากต้องการผลิตสินค้าให้ได้จำนวนมากๆ และลดจำนวนระยะเวลาการผลิตของสินค้า

Wednesday, 20 April 2011

แผ่นหลังคาเหล็กรีดลอน หรือ เมทัลชีท

แผ่นหลังคาเมทัลชีท(Metal sheet) หรือหลังคาเหล็กรีดลอนเป็นวัสดุหลังคาที่เริ่มเป็นที่นิยมในงานการก่อสร้างหลังคา อาคาร อย่างแพร่หลาย อาทิเช่น โรงงาน โรงเรียน หลังคาแมนชั่น สนามฟุตซอล ห้างสรรพสินค้า โรงอาหาร ฟาร์ม บ้านพัก โรงสีข้าว อู่ โชว์รูม เป็นต้น



เนื่องจากแผ่นหลังคาเหล็กเมทัลชีทเคลือบอลูซิงค์ ( Aluzinc Metal Sheet Roofing) มีคุณสมบัติโดดเด่นหลายอย่าง ทั้งแข็งเหนียว ทนการกัดกร่อน น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย ด้วยรูปลอนหลังคาที่หลากหลาย มีสีสันให้เลือกมากมาย และความหนาที่ระบุได้ ตั้งแต่ 0.25 - 0.50 มม.

หลังคาเมทัลชีท (หลังคาเหล็กรีดลอน)
เหล็กเคลือบอลูซิงค์ มีระบบป้องกันสนิม 2 ลักษณะ อลูมิเนียมช่วยเป็นเกราะป้องกันการกัดกร่อนที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่าง อากาศ และตัวเนื้อเหล็ก ส่วนสังกะสีช่วยป้องการกัดกร่อนบริเวณขอบตัด และรอยขีดข่วน โดยสารประกอบสังกะสีจะสร้างตัวตรงบริเวณขอบตัดด้วยปฏิกิริยาอิเลคโตรด (electrolytic reaction) และจะสละตัวเองเพื่อป้องกันการกัดกร่อนที่เนื้อเหล็ก

แผ่นเมทัลชีท(Metal Sheet) สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้
ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือ รอยแตกร้าวรั่วซึมของกระเบื้องหลังคา ทำให้ต้องเสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมสูง หลังคาเหล็ก คือ คำตอบ ของผู้ที่มองหาวัสดุหลังคาที่มีความ เหนียวทนทาน ป้องกันความร้อนได้ดี น้ำหนักเบา ติดตั้งง่ายและราคาไม่แพง

แผ่นหลังคาเมทัลชีท (Metal Sheet) จึงเป็นทางเลือกใหม่ใช้แทนวัสดุมุงหลังคาอื่นๆ เป็นต้นว่า แผ่นสังกะสี((Zinc) แผ่นโพลีคาร์บอเนต(Polycarbonate) และแผ่นกระเบื้องหลังคาแบบเดิม(Ceramic Roof Tile) แผ่นเหล็กรีดลอนอลูซิงค์ เป็นวัสดุมุงหลังคามีความโดดเด่นหลายประการเมื่อเทียบกับวัสดุหลังคาประเภท อื่นๆ อีกทั้งยังสวยงามด้านสถาปัตยกรรมที่ทันสมัย เพราะสามารถออกแบบใช้งานได้หลายรูปแบบ ยังประยุกต์ใช้ในส่วน ผนัง(Siding) แผ่นหลังคาเหล็กโค้ง (Crimped Curve) ถูกนำมาใช้ทำ กันสาดโค้ง หลังคาโค้งรูปโดม ที่สวยงามได้อีกด้วย

แผ่นเมทัลชีท (Meatal Sheet) หรือแผ่นหลังคาเหล็กรีดลอนอลูซิงค์ นี้สามารถนำมาใช้เป็นแผ่นหลังคา เป็นแผ่นฝ้า แผ่นผนังเหล็ก กันสาด รั้ว และใช้ได้ทั้งกับแปเหล็กและแปไม้ ผสมผสานเข้ากับงานโครงสร้างไม้ งานโครงสร้างคอนกรีต ได้เป็นอย่างดี

Tuesday, 19 April 2011

แผ่นเมทัลชีท (Metal Sheet)

หลายคนอาจจะเคยเห็นบ้านที่ใช้ แผ่นเมทัลชีท (Metal sheet) มุงหลังคาบ้านกันมาบ้างแล้ว วันนี้เราจะบอกถึงคุณสมบัติของหลังคาบ้านที่ใช้ แผ่นเมทัลชีท (Metal sheet) โดยทั่วไปส่วนใหญ่แล้ว เขาจะใช้ เมทัลชีท ในการมุงหลังคาโรงงานใหญ่ๆ ผนังด้านข้าง หรือโรงรถ เป็นต้น แต่ก็มีบางท่านอาจนำแผ่นเมทัลชีท (Metal Sheet) มาใช้กับบ้าน



คุณสมบัติและข้อดีของแผ่นเมทัลชีท (Metal sheet)

หลังคาเมทัลชีท
- แข็งแกร่งทนทาน เพราะผลิตจากเหล็ก Hi - Tensile ค่าความแข็งแรงของเนื้อเหล็กสูง

- ประหยัดต้นทุนเหล็กโครงสร้าง เนื่องจากมีน้ำหนักเบา, แต่แข็งแรง, ทนทาน, ทำให้ประหยัดค่าขนส่ง

- ติดตั้งง่าย รวดเร็ว ประหยัดเวลา และแรงงานคน

- ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สามารถใช้รองน้ำฝนดื่มได้

- สีไม่ตก ไม่ขึ้นรา มีความสม่ำเสมอของสีเท่ากันโดยตลอด

- น้ำหนักเบาเพียง 4.2 - 6.3 kg./sq.m. ทำให้ประหยัดโครงสร้างได้มาก

- ความยาวสั่งตัดให้เหมาะสมกับขนาดของอาคารได้ไม่จำกัด และสามารถสั่งดัดโค้งได้

- มีลอนลักษณะต่างๆ ให้เลือกมากมาย ความหนาประมาณ 0.35 mm. , 0.47 mm. และ 0.57 mm. และมีสีให้เลือกด้วย

- ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศได้ดี และยังสามารถเลือกสีที่เคลือบให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมบางแห่งได้

- กันฝนได้แน่นอน เนื่องจากมีรอยต่อน้อยมาก รอยซ้อนทับได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อป้องกันน้ำซึมย้อน



ที่กล่าวมาข้างต้นคือคุณสมบัติของ แผ่นเมทัลชีท (Metal sheet) แต่หลายๆ ท่ายอาจจะกลัวว่า ถ้าใช้โครงหลังคาเหล็กแล้วจะทำให้เกิดสนิมที่โครงหลังคาหรือไม่

การป้องกันไม่ให้โครงหลังคาเป็นสนิม
1. โครงเหล็กต้องขัดให้สะอาดโดยใช้เครื่องขัด
2. ทาสีกันสนิมก่อนในขั้นแรก
3. แล้วก็ทาสีรองพื้นเป็นลำดับต่อมา
4. หลังจากนั้น ก็ทาสีจริงอีกครั้ง เป็นอันเสร็จ

แผ่นหลังคาเมทัลชีท (Metal Sheet)

แผ่นเมทัลชีท (Metal Sheet) หมายถึงแผ่นเหล็กที่เคลือบสังกะสีและอลูมิเนียม (Zincalume®) เพื่อให้มันมีความทนทาน แล้วจึงนำมารีดลอนให้บางสำหรับที่จะนำมาใช้กับหลังคาหรืองานต่างๆ เป็นที่ชื่นชอบกันมากในประเทศไทย เพราะติดตั้งง่าย ไม่เป็นสนิม สามารถรีดเป็นแผ่นยาวตามขนาดที่ต้องการได้ ดัดให้โค้งก็ได้ และมีสีให้เลือกหลายสีตามที่ลูกค้าต้องการ



เมทัลชีท (Metal Sheet) มีน้ำหนักเบาเมื่อเทียบกับหลังคากระเบื้อง หรือคอนกรีต ทำให้ไม่ต้องใช้โครงสร้างเหล็กเพื่อรองรับมาก จึงลดค่าโครงสร้าง แข็งแรงทนทาน ถ้านำมามุงหลังคาหรือ ทำสถานที่จอดรถ ก็ยังดูทันสมัย แล้วแต่จะนำไปใช้งานตามความเหมาะสม

การใช้แผ่นเมทัลชีท (Metal sheet) ในการมุงหลังคาบ้านนั้น อาจจะเสียงดังมากเวลาฝนตก แต่ปัญหานี้แก้ได้ไม่ยาก เพียงแค่คุณกรุด้วยฉนวนกันความร้อน ปิดทับด้วยฝ้าอีกที เพียงเท่านี้เสียงก็ไม่ดังแล้ว เหตุที่หลังคาชนิดนี้มีเสียงดังเพราะ เมทัลชีท (Metal sheet) เป็นหลังคาเหล็กที่เคลือบด้วย Zincalume คือ โลหะผสมระหว่างอลูมิเนียม 55% สังกะสี 43.5% และซิลิคอน 1.5% ผลิตโดยกรรมวิธีชุปร้อนแบบต่อเนื่อง

แผ่นเหล็กรีดลอน หรือ Metal Sheet ที่ใช้กันทั่วไปในประเทศไทย มีอยู่ 2 ชนิด

แผ่นเมทัลชีท (Meatl Sheet)
1. แผ่นเหล็กอาบสังกะสีเคลือบสี ได้จากการนำแผ่นเหล็กมาอาบสังกะสีแล้วเคลือบสีอีกทีหนึ่ง (Precoated Galvanized Steel Sheet)

2. แผ่นเหล็กเคลือบอลูซิงค์ ได้จากการนำแผ่นเหล็กมาอาบอลูมิเนียมและสังกะสี

ซึ่งทำให้ได้แผ่นเหล็กที่ทนต่อสภาพอากาศและทนต่อการกัดกร่อน แล้วนำมารีดขึ้นรูปเป็นลอน ใช้เป็นวัสดุสำหรับมุงหลังคา ทำฝ้าและผนัง ซึ่งจะมีข้อดีหลายอย่างเมื่อเทียบกับหลังคากระเบื้องทั่วไป

Sunday, 10 April 2011

เหล็กแผ่น

ประเภทของเหล็กแผ่น
เหล็กแผ่นโดยส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการรีดด้วยลูกรีด (Roll Forming) เพื่อให้ได้ความหนาตามที่ต้องการ หากแบ่งประเภทของเหล็กแผ่นตามรูปร่าง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. เหล็กแผ่นม้วน
2. เหล็กแผ่นหนา



เหล็กแผ่นดำ
เหล็กแผ่นม้วน จะมีความหนาตั้งแต่ 0.1 –12 มม. ซึ่งยังแบ่งตามลักษณะการผลิตออกเป็น
- เหล็กแผ่นรีดร้อน จะมีความหนาตั้งแต่ 1.0 –12 มม.หรือภาษาตลาดเรียกว่าเหล็กแผ่นดำ เพราะมีผิวสีดำเนื่องจากต้องรีดที่อุณหภูมิกสูงว่า 700 องศาเซนติเกรด โดยมากมักใช้เหล็กแผ่นรีดร้อนในงานท่อ งานถังแก๊ส งานโครงสร้าง งานขึ้นรูปทั่วไปที่ไม่เน้นคุณภาพผิวและเป็นการขึ้นรูปไม่ลึกมาก

- เหล็กแผ่นรีดเย็น จะมีความหนาตั้งแต่ 0.1 –3.2 มม.หรือภาษาตลาดเรียกว่าเหล็กแผ่นขาวเพราะเป็นผิวที่ไม่มีสนิมร้อนเหมือนเหล็กแผ่นรีดร้อน มีความสามารถในการปั๊มขึ้นรูปลึกมากกว่าขึ้นตามลำดับ โดยมากมักใช้กับงานขึ้นรูปที่เน้นคุณภาพผิวและเป็นการขึ้นรูปไม่ลึก เช่น ตัวถังรถยนต์ ตัวบอดี้เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์

- เหล็กแผ่นเคลือบ ชุบผิวจะมีความหนาตั้งแต่ 0.1 –3.2 มม.

อีกกลุ่มหนึ่งของเหล็กแผ่นคือ เหล็กแผ่นเคลือบชุบผิว ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กกล้าชนิดแผ่นเคลือบโลหะผสมสังกะสี เป็นเหล็กกล้าชนิดแผ่นที่มีคุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อนในสภาพบรรยากาศทั่วไปเหนือกว่าเหล็กกล้าชนิดแผ่นธรรมดา โดยทั่วไปเหล็กจะถูกกัดกร่อนได้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ กระบวนการกัดกร่อนเกิดจากการรวมตัวของเนื้อเหล็กกับออกซิเจนเป็นออกไซด์ของเหล็กซึ่งมีอยู่หลายประเภท การเคลือบเหล็กแผ่นด้วยสังกะสีเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถป้องกันการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดี โดยชั้นเคลือบสังกะสีจะทำหน้าที่ 2 ประการคือ

1. ป้องกันเนื้อเหล็กจากการสัมผัสกับบรรยากาศภายนอก
2. สังกะสีจะทำหน้าที่ผุกร่อนแทนเหล็ก (Sacrificial protection) ในบริเวณขอบตัดของแผ่นเหล็กหรือบริเวณที่เกิดรอยขีดข่วน

Saturday, 9 April 2011

พื้นฐานการออกแบบท่อ

โดยทั่วไป งานติดตั้งท่อประปาที่เดินใต้ดิน เราจะนิยมใช้ ท่อ PE คือ ท่อที่ทำด้วยวัสดุ Polyethylene ซึ่งในการออกแบบท่อนั้นสิ่งที่ควรรู้เบื้องต้นมีดังนี้



1. ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางด้านนอกของท่อ ท่อที่นิยมใช้จะมีขนาดต่อไปนี้

การออกแบบท่อ
1/2” = 20 mm.
3/4” = 25 mm.
1” = 32 mm.
1-1/2” = 50 mm.
2” = 63 mm.
2-1/2” = 75 mm.
3” = 90 mm.
4” = 110 mm.
5” = 140 mm.
6” = 160 mm.
8” = 200 mm.


2. ความหนาของท่อ ซึ่งท่อ PE ที่มีขายทั่วไปจะมีอยู่ 2 ประเภทคือ

HDPE คือ High Density polyethylene ท่อที่ทนแรงดันได้สูง ซึ่งระบบงานท่อจะใช้ท่อประเภทนี้ซึ่งจะมี มาตรฐาน มอก. 982 กำหนดไว้
LDPE คือ Low Density polyethylene ท่อที่ใช้ความดันต่ำใช้ในงานเกษตรกรทั่วไป

เกรดของท่อ แบ่ง เป็น PE80 PE100 ซึ่งที่ความหนาเท่ากัน PE100 จะรับแรงดันได้ดีกว่า
ความดันจะกำหนดเป็นค่า PN ซึ่งขนาดท่อที่นิยมใช้จะมี

PN 6.3 ความดันระบุที่ 20 องศาเซลเซียส = 0.63 Mpa
PN 10 ความดันระบุที่ 20 องศาเซลเซียส = 1.00 Mpa
PN 16 ความดันระบุที่ 20 องศาเซลเซียส = 1.60 Mpa

ซึ่ง 1 Pa = 1 N/ m2

ถ้าแรงดันน้ำสูงควรคำนึงถึง water hammer ที่จะเกิดขึ้นด้วย
*Water Hammer คือ แรงดันน้ำที่เกิดขึ้นขณะเปิด - ปิดปั้ม

3. ขนาดของท่อ สิ่งที่ควรคำนึงถึง คืออัตราการไหล

สูตรที่ใช้จะเป็น Q = AV

Q = อัตราการไหล มีหน่วยเป็น ลูกบากศ์เมตรต่อวินาที
A= พื้นที่หน้าตัดท่อ ตารางเมตร
V= ความเร็วของน้ำ เมตรต่อ วินาที
ซึ่งในบางครั้งเราจะใช้ อัตราการไหล ที่ได้จาก ปั้มมาทำการคำนวณ

Tuesday, 5 April 2011

การเชื่อมท่อ PE HDPE

การเชื่อมท่อ พีอี PE HDPE
การเชื่อมท่อ พีอี PE HDPE จะใช้เครื่องจักรกลเฉพาะในการเชื่อมต่อ ซึ่งมีส่วนอุปกรณ์ส่วนประกอบดังนี้
- ตัวเครื่องพร้อมแท่นรองรับ
- ที่จับยึดท่อ
- แผ่น (CUTTER) ใช้สำหรับการปาดหน้าท่อให้ได้ฉาก
- แผ่นความร้อน (HEATER)
- เครื่องอัดแรงดัน (HYDROLIC)



เครื่องเชื่อมท่อ PE HDPE
รายละเอียดการประกอบเชื่อม
- อุณหภูมิของแผ่นความร้อนที่ใช้ในการเชื่อมท่อ ; T =210±10 0C ซึ่งสามารถปรับได้จากตัว (HERTER) ได้โดยตรง
- แรงดันในการให้ความร้อนหลอมท่อและเชื่อมท่อ
- เวลาในการทำงานแต่ละขั้นตอน สามารถกำหนดได้จากการคำนวน

ขั้นตอนการเชื่อมท่อ พีอี PE HDPE ตามลำดับ
1. เลือกใช้ประกับที่เหมาะสมกับท่อที่จะเชื่อม ขันน็อตยึดแคล็มป์ให้แน่น ปลายท่อควรเหลือมกันไม่เกิน 10% ของความหนาท่อ ควรใช้โรลเลอร์เพื่อลดแรงพาท่อ

2. ใส่ตัวปาดหน้าท่อ ขณะปาดหน้าท่อควรค่อยๆเพิ่มแรงดัน ปาดหน้าท่อจนกว่าปลายท่อจะเรียบตั้งฉากกับแกนท่อ สังเกตจากเศษที่ปาดออกมาจะเรียบเป็นวงเสมอกัน

3. ใส่แผ่นความร้อน เพิ่มแรงดันตามระยะเวลาที่พารามิเตอร์กำหนด

4. เมื่อหลอมปลายท่อจนได้ตะเข็บกว้างตามที่ต้องการ ให้ปลดแรงดันหลอม โดยใช้แรงดันและระยะเวลาตามที่พารามิเตอร์กำหนด

5. เลื่อนปลายท่อออกจากแผ่นความร้อน และยกแผ่นความร้อนออก ระวังอย่าให้แผ่นความร้อนสัมผัสกับสายไฟฟ้าหรือผิวท่อ เลื่อนปลายท่อที่หลอมละลายแล้วให้ชนกัน ทิ้งให้เย็นตามแรงดันและระยะเวลาที่กำหนด

6. เมื่อเชื่อมท่อเสร็จสิ้นให้ถอดแคล็มป์และประกับออก ระวังอย่าเคลื่อนย้ายหรือทดสอบแรงดันน้ำก่อนที่ท่อจะเย็นตัวลงอย่างสมบูรณ์ภายใต้อุณหภูมิอากาศ อย่าราดน้ำเพื่อให้ท่อเย็นตัวเร็วขึ้น

อันตรายจากน้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันหล่อเย็น

อันตรายจากการใช้น้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันหล่อเย็น
ในงานที่มีการใช้เครื่องจักรกลชนิดต่างๆ หรืองานอุตสาหกรรมโลหะ เช่น งานเจียร งานไส งานกลึงานกัด งานตัดโลหะ จำเป็นจะต้องใช้น้ำมันหล่อลื่นและหล่อเย็น เพื่อลดความเสียดทานระหว่างเครื่องมือกับชิ้นงาน ลดอุณหภูมิความร้อน และช่วยไล่เศษวัสดุจากชิ้นงานที่กำลังตัด ซึ่งจะช่วยให้เครื่องจักรทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนั้นน้ำมันหล่อลื่นและหล่อเย็นยังช่วยป้องกันโลหะเป็นสนิมด้วย ลักษณะงานดังกล่าวผู้ปฏิบัติงานจะต้องสัมผัสกับสารหล่อลื่นและหล่อเย็นตลอดเวลา จึงทำให้มีคนงานเป็นจำนวนมากที่ขาดการป้องกันที่ดี ประสบปัญหาโรคผิวหนัง



น้ำมันหล่อเย็น (Cutting Fluid)
น้ำมันหล่อลื่นและหล่อเย็นที่ใช้ในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นสารประเภทน้ำมัน จาระบี และสารอีมัลชั่น ซึ่งส่วนประกอบของสารเหล่านี้คือ น้ำมันพืช น้ำมันแร่ บางชนิดนำมาผสมกัน เช่น น้ำมันแร่ผสมกับสบู่ เป็นต้น และการทำสารหล่อลื่นและหล่อเย็นให้มีคุณสมบัติและคุณภาพเหมาะแก่การใช้งานแต่ละอย่างจำเป็นต้องเติมสารบางชนิดลงไป เช่น ฟีนอล แอลกอฮอล์ ไนโตรเบนซีน และสารประกอบจำพวกกำมะถันและคลอรีน เป็นต้น

คนงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเหล่านี้จะได้รับอันตรายจากสารเนื่องจากการหยิบจับวัสดุ เครื่องจักร อุปกรณ์ ที่เปรอะเปื้อนน้ำมันหรือมีวิธีการทำงานที่ทำให้เกิดการกระเด็นของสาร โดยผู้ปฏิบัติงานไม่ได้ใช้เครื่องป้องกัน รวมทั้งการขาดความเอาใจใส่ในการรักษาความสะอาด

โรคผิวหนังที่เกิดจากสารหล่อลื่นและหล่อเย็น
- โรคผิวหนังเนื่องจากน้ำมัน เกิดเนื่องจากผิวหนังสัมผัสกับสารหล่อลื่นประเภทน้ำมันทำให้ผิวหนังบวมแดงเพราะแพ้สารฆ่า เชื้อโรค หรือแพ้ฤทธิ์ความเป็นด่างของสารหล่อเย็นประเภทอีมัลชั่น

- โรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อ คนงานที่ปฏิบัติงานโดยขาดความระมัดระวัง เช่น การใช้ผ้าเช็ดมือที่ไม่สะอาด ทำความสะอาดมือ แขน อาจมีเศษวัสดุที่ติด ในผ้าเช็ดมือตำหรือข่วนทำให้ถลอกเป็นแผลซึ่งจะเป็นทางนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่ายโดยเฉพาะเชื้อหนอง จะทำให้ผิวหนังอักเสบรุนแรงได้

- หูดหรือมะเร็ง คนงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารประเภทน้ำมันแร่ เช่น น้ำมันดำจากถ่านหิน น้ำมันหินดาล หากผิวหนังถูกสารเป็นประจำจะทำให้เกิดแผลลักษณะหนา สีน้ำตาล และในรายที่ไม่ได้รับการรักษาอาจกลายเป็นมะเร็งได้

Sunday, 3 April 2011

น้ำมันหล่อเย็น (Cutting Fluid)

น้ำหล่อเย็น (Cutting Fluid) คืออะไร
Metalworking Fluid (MWF) หรือน้ำหล่อเย็น เป็นชื่อเรียกกลุ่มของเหลว ส่วนมากเป็นพวกน้ำมัน ที่ใช้ในการหล่อลื่นหรือเพื่อลดความร้อนและการเสียดสี เมื่อทำการตัด, เจียร, บดโลหะ ช่วยให้ไม่เกิดความร้อนมากจนไฟไหม้หรือควันขึ้น หรือเกิดประกายไฟ ช่วยให้ขอบหน้าของโลหะที่ตัดมีความเรียบเนียน และช่วยให้เศษผงโลหะที่เกิดขึ้นจากการตัดหลุดออกไปได้ง่ายขึ้น



น้ำมันหล่อเย็น (Cutting Fluid)
น้ำมันหล่อเย็นมีหน้าที่หลัก 4 ประการ คือ
1. ระบายความร้อน
น้ำมันตัดกลึงโลหะมีหน้าที่ระบายความร้อนออกจากบริเวณใบมีดและชิ้นงานเพื่อไม่ให้ใบมีดสูญเสียความแข็งหรืออ่อนตัว อันเนื่องมาจากความร้อน ป้องกันไม่ให้เกิดการหลอมติดของเศษโลหะที่ปลายใบมีด (BUE) ทำให้สามารถทำงานตัดกลึงได้เร็วชิ้นงานได้ขนาดและคุณภาพผิดตามต้องการ

2. หล่อลื่นลดแรงเสียดทาน
น้ำมันตัดกลึงโลหะทำหน้าที่หล่อลื่นลดแรงเสียทานระหว่าง ระหว่างชิ้นงานกับใบมีด รวมทั้งเศษโลหะที่เคลื่อนที่ผ่านหน้าใบมีด การตัดกลึงใช้กำลังน้อยลง ลดการสึกหรอของใบมีดช่วยป้องกันการเกิดปัญหา BUE

3. ซะล้างและพาเศษโลหะ
น้ำมันตัดกลึงโลหะทำหน้าที่ในการชะล้างและพาเศษโลหะที่เกิดจากการตัดเฉือนออกไปจากบริเวณตัดเฉือน และชิ้นงาน

4. ป้องกันสนิม
น้ำมันตัดกลึงโลหะทำหน้าที่ป้องกันสนิมให้แก่ชิ้นงานที่ถูกตัดเฉือนใหม่ ซึ่งผิวโลหะส่วนนี้มักไวต่อการเกิดสนิมมากและยังทำหน้าที่ป้องกันสนิมให้แก่เครื่องจักรและรางแท่น (Slideways) ด้วยน้ำมันหล่อเย็น

น้ำมันหล่อเย็นที่ดีควรมีคุณลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
- มีอัตราการระบายความร้อนที่ดี
- มีคุณภาพการหล่อลื่นที่ดี
- ป้องกันการเกิดสนิม
- มีความเสถียรมาก เพื่อให้ใช้งานได้นาน
- ป้องกันการเกิดกลิ่นเหม็น
- ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้
- ไม่ข้นจนเกินไป ทำให้ผู้ใช้มองเห็นชิ้นงานได้ง่ายในขณะที่ปฏิบัติงาน
- ความหนืดน้อย เพื่อให้ชะล้างเศษผงโลหะออกไปได้ง่าย
- ไม่ติดไฟ

แลกลิงค์

Create your own banner at mybannermaker.com!
Copy this code to your website to display this banner!
ต้องการแลกลิงค์ติดต่อ plasmamax@gmail.com